Sunday, April 11, 2010

ธรรมะใกล้ตัว

ถ้าสมมุติว่าสมองคนเป็นคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำของแต่ละคน
ก็มีประสิทธิภาพไม่เท่ากันในแต่ละเรื่อง
บางคนจำแม่นเรื่องตัวเลข
บางคนจำแม่นเรื่องผู้คน
บางคนจำแม่นเรื่องรายละเอียดเชิงเทคนิค
แต่เรื่องอื่นที่ไม่ถนัด
ก็เหมือนความจำชำรุด
พอขาดไฟเลี้ยงก็หายไปราวกับไม่เคยมีอยู่
หรือไม่ก็เป็นหน่วยความจำที่ไว้ใจไม่ได้
สาระแนเอาความจำชุดหนึ่ง
ไปผสมกับความจำชุดอื่นโดยไม่มีใครสั่ง

ความจำเป็นเรื่องลึกลับ
โดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องการศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องของความทรงจำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
แต่หากสนใจในแง่ของกรรม
ก็อาจมองเห็นอะไรเป็นภาพรวมง่ายขึ้น
แม้ไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็พอจับจุดได้เป็นหลักๆ

เราเอาเรื่องทางศาสนามาเป็นตัวอย่างการศึกษา
บางคนจำแม่นไปทุกเรื่อง
ลงรายละเอียดได้ยิบยับ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบุคคลที่รู้จัก
ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคที่สลับซับซ้อน
ไม่ว่าจะเป็นลำดับสถานการณ์ที่ยุ่งเหยิง
แต่พอมาเรื่องของศาสนา
แม้จะพยายามอ่าน พยายามท่องพระไตรปิฎกอย่างไร
ก็ดูเหมือนจะไม่จำ หรือจำคลาดเคลื่อน

ความเชื่อและนิสัยขั้นพื้นฐาน
เป็นตัวแปรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
เช่น เดิมเป็นคนไม่เห็นสาระสำคัญของภาคทฤษฎี
จะปักใจเชื่อว่าลงมือลุยเลย ปฏิบัติเลยดีที่สุด
ตำรับตำราไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปอ่านมาก
นอกจากนั้นก็มีเรื่องของความชอบคิดเอง ชอบพูดเอง
ชอบให้คนมองว่าเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของวาทะ

พอถึงจุดหนึ่ง เริ่มเห็นความสำคัญของภาคทฤษฎีขึ้นมา
ทั้งในแง่ของการอ้างอิงไว้พูดให้น่าเชื่อถือ
และทั้งในแง่ของการนำมาประยุกต์กับการปฏิบัติจริง
ก็จำไม่ได้ เหมือนความทรงจำทางศาสนารางเลือน
จับแพะชนแกะ ผิดฝาผิดตัว หรือพูดได้ว่าเพี้ยน
คล้ายขาดเสาหลัก ไร้ฐานที่มั่นทางความทรงจำ
แยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นความเห็นของตัวเอง
อันไหนเป็นคำพูดของครูบาอาจารย์
อันไหนเป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสกันแน่

กับคนอีกแบบหนึ่งที่เป็นตรงข้าม
คืออะไรๆต้องเชื่อคนอื่นไว้ก่อน
ไม่กล้าคิดเอง ไม่กล้าสรุปเอง
ต้องให้คนอื่นคิด ให้คนอื่นสรุปอยู่ตลอด
พวกนี้บางทีจำแม่นเป็นบางเรื่อง
แต่อีกหลายเรื่องหลุดหมายไปหมดแบบยกกระบิ
เคยฟังก็บอกว่าไม่เคยฟัง
เคยเถียงก็บอกว่าไม่เคยเถียง
ทั้งนี้เพราะแรงศรัทธาเท่านั้น
ที่เป็นตัวยึดหรือตัวปล่อยความทรงจำทางศาสนาไป

สรุปคือ "ปัญญา" กับ "ศรัทธา" มีบทบาทใหญ่
ในเรื่องของหน่วยความจำทางศาสนา
ถ้าปัญญามากเกินไปก็จำไม่ค่อยถนัด
เพราะความคิดเข้าข้างตัวเองยืนจังก้าขวางทางอยู่
แต่ถ้าศรัทธาแรงเกินไปก็จำได้ชัดเป็นบางเรื่อง
เพราะจิตมีกำลังยึดเฉพาะจุดที่ปักใจแน่ว

เพื่อจะมีหน่วยความทรงจำทางศาสนาที่ดีเยี่ยม
อันจะมีผลให้หน่วยความทรงจำอื่นๆพลอยดีตาม
ศรัทธาและปัญญาควรสมดุล
ต้องมีลักษณะพร้อมจะน้อมใจฟังคำอันเป็นธรรม
โดยไม่เข้าข้างตัวเอง
ไม่ยืนกรานตามอำเภอใจแบบขาดเหตุผล
จะเชื่อข้อสรุปใดต้องผ่านการพิสูจน์
หรือถ้าไม่สะดวกจะพิสูจน์
อย่างน้อยก็ต้องผ่านการพิจารณา
ที่มีหลักเกณฑ์เป็นเหตุเป็นผล
พร้อมจะยอมรับเหตุผลอันเป็นจริง
โดยไม่เลือกข้างว่าจะเป็นฝั่งตนหรือฝั่งท่าน

แต่ถ้าคุณเป็นพวกชอบบิดเบือนคำคนอื่น
จ้องจับแต่ข้อผิด ไม่ยอมมองที่ข้อดี
หรือกระทั่งชอบเอาความเห็นของตนเอง
ไปใส่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค
เพียรพยายามยัดเยียดความจำมืดๆใส่สมองคนอื่น
อันนี้ลืมไปได้เลย เรื่องจะมีหน่วยความจำทางศาสนาดีๆ
เท่าที่ผมเห็นมา ความทรงจำจะวิปริตปรวนแปรไปหมด
เป็นผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมในปัจจุบันชาติ
จำได้ดีเฉพาะเรื่องที่กล่าวตู่คนอื่น
หรือตู่เอาพุทธพจน์มา "ใช้งาน" สนองกิเลสตนเอง
ที่จะนำมาประยุกต์พัฒนาชีวิตจิตใจให้เจริญ
กลับจำไม่ได้ หรือจำได้อย่างรางเลือน
ไม่รู้สึกถึงคุณค่า ไม่เชื่อว่าตนจะต้องปฏิบัติตาม

กรรมปัจจุบันเป็นอย่างไร
เกิดใหม่ก็มีสภาวะที่สอดรับอย่างนั้น
ถ้าคุณเคยเห็นคนที่มีความจำสับสน
เอาแต่อยู่กับความคิดของตัวเอง
อยู่ดีๆเป็นทุกข์กับความคิดที่บิดเบี้ยวของตัวเอง
จำได้แต่เรื่องที่ตัวเองเชื่อ
จดจำสาระดีๆที่มาจากภายนอกไม่ค่อยได้
เข้าข่ายคนเป็นโรค "ความจำเป็นพิษ"
เอาแต่ย้ำคิดย้ำทำในเรื่องไม่เป็นเรื่องไปจนชั่วชีวิต
นั่นแหละครับผลหนึ่งของกรรมประมาณที่กล่าวมาข้างต้น

เพื่อจะไม่มีความจำอันเป็นขุมนรกในตน
ก็ให้หน่วยความจำทางศาสนาของคุณ
เป็นไปเพื่อความสว่าง ความเจริญรุ่งเรือง
ทั้งสำหรับตนเองและผู้อื่นเถิด

ดังตฤณ
เมษายน ๕๓

Friday, April 9, 2010

พระอริยสงฆ์เนื้อนาบุญของโลก

 

ที่ได้ฟังท่านเปรย ๆ มาก็พอจับใจความมาว่าท่านไหนได้แล้ว...เสียดายที่ไม่ได้อัดเทบไว้ครับ....
และนี่ก็คือท่านเปรยว่าล้วนแล้วแต่เป็นพระอริยสงฆ์เนื้อนาบุญของโลกเลยทีเดียว
ท่านบอกว่า
1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ประทุมธานี


2.หลวงปู่ลี กุสลธโร
วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


3.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี


4.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย


5.พระอาจารย์แบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร


6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง


7.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


8.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี


9.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร


10.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ
วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต


11.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
12.หลวงปู่ศรี มหาวีโร
วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
13.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม
วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
14.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
15.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


16.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
17.หลวงปู่ทา จารุธัมโม
วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา
18.พระอาจารย์เพียร วิริโย
วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
19.อาจารย์สาย เขมธัมโม
วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
20.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
21.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร
22.อาจารย์พวง สุขินทริโย
วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
23.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
24.หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
25.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน
วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
26.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ
วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร


27.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
28.หลวงปู่แปลง สุนทโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
29.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
30.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี


31.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร
วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
32.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
33.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
34.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร
วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย
35.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
36.พระอาจรย์วิไล เขมิโย
วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
37.หลวงปู่จันทา ถาวโร
วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร
38.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม
วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์
39.หลวงปู่ถวิล
จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)


40.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก
วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี


41.อาจารย์วันชัย วิจิตโต
วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

50.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ )
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
(หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)
51.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
จ.สุพรรณบุรี


52.หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า

53.พระอาจารย์มหาโส กัสโป
วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
54.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
55.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป
วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

56.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


57.หลวงปู่ผาง โกสโล
วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
58.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
59.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
60.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
61.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
62.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์
63.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
64.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร
สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


65.หลวงปู่คูณ สุเมโธ
วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


66.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่
จ.จันทบุรี
67.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
68.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
69.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร


70.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโร
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม ) อ.ส่องดาว
จ.สกลนคร


71.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ
วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย


72.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี

73.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
74.หลวงปู่เผย วิริโย
วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย
75.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
76.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
สำนักชีบ้านห้สยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
77.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร
วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย


78.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ
วัด่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
79.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ
วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
80.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม
วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


81.พระอาจารย์แยง สุขกาโม
วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย


82.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท
วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
83.หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโร

วัดอนาลโยทิพยาราม(ดอยบุษราคัม) พะเยา


85.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
86.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
87.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
88.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย


89.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์
90.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
93.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่
จ.จันทบุรี
94.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
100.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
101.หลวงปู่เผย วิริโย
วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย


102.หลวงปู่คำพอง ขันติโก
วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
103.หลวงปู่อว้าน เขมโก
วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
104.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย
105.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 )
วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น
106.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์
วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
107.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต
วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
108. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
109.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร
วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


110.หลวงปู่ประสาร สุมโน
วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร
ครับ.....................

Tuesday, March 30, 2010

49 หลังความตาย

DSCN0754 (2)

มนุษย์และสัตว์มิได้สิ้นสุดที่ความตาย เพราะการ "ตาย" หมายถึง สภาพร่างกายที่ไม่สามารถให้บริการแก่จิตวิญญาณใช้งานต่อไปได้อีก วิญญาณยังคงอยู่ ถึงแม้ร่างกายจะหมดอายุขัยไปแล้ว ทั้งนี้สภาพการตายจะบ่งบอกให้รู้ว่าจิตวิญญาณนั้นไปสุคติหรือลงสู่นรกภูมิ  

1. ตอนตายใหม่ ถ้าหากสีหน้าปกติ ร่างกายอ่อนนิ่ม สีหน้าเหมือนคนมีชีวิตอยู่ เนื่องจากได้บรรลุธรรม ดวงวิญญาณจะไปสู่สุคติ
2. ตอนตายใหม่ๆ หน้าตาซีดผาด เหมือนคนตกใจ แสดงว่าวิญญาณได้ตกสู่นรกแล้ว
3. ตอนตายใหม่ๆ ร่างกายแข็งทื่อ หน้าตาน่ากลัว เพราะความตกใจ บางคนจะกรีดร้องเสียงคล้ายสัตว์ คนเหล่านี้จะไปเกิดเป็นสัตว์ 4 ชนิด สังเกตได้จากตา หู จมูก ปาก ตาจะมีน้ำตาออก หูจะมีขี้หู จมูกจะมีน้ำมูก ปากจะมีน้ำลายฟูมปาก เป็นทวารที่ไม่สะอาด 4 ช่องทาง เมื่อจิตวิญญาณออกทางนี้ จะเกิดเป็นสัตว์ 4 ประเภท

- ตา ชอบดูสิ่งเหลวไหล ลุ่มหลงในรูปต่างๆ คนเหล่านี้เวลาใกล้ตาย ดวงตาจะเบิกกว้าง จะไปเกิดเป็นสัตว์ปีก (เกิดออกจากไข่)
- หู ชอบฟังเรื่องเหลวไหล เรื่องซุบซิบนินทา คนเหล่านี้เวลาตาย หูจะชันขึ้น จะไปเกิดเป็นสัตว์ที่เกิดจากครรภ์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย
- จมูก ชื่นชมกลิ่นคาวโลกีย์ เช่น เงินทอง สุรา นารี การพนัน ชื่อเสียงลาภยศ และค่านิยมที่ผิดศีลธรรม ฯลฯ จะไปเกิดเป็นแมลง มด ยุง แมลงวัน ฯลฯ บาปหนักมาก วิญญาณจึงถูกตีเป็นเศษวิญญาณ
- ปาก ชอบพูดเรื่องเหลวไหล พูดนินทา พูดวิจารณ์ พูดกล่าวร้ายป้ายสี ด่าคำหยาบคาย คนเหล่านี้เวลาตาย ปากจะอ้าค้างอยู่ตลอด จะเกิดเป็นสัตว์น้ำ ไปอยู่กับรสชาติที่โสโครกและสกปรก


เมื่อออกจากร่าง วิญญาณจะไปที่ไหน?
ดวงวิญญาณที่ออกจากร่างในตอนแรก จะวนเวียนอยู่บริเวณนั้น พอได้สติก็จะมีท่านมัจจุราชทำหน้าที่มานำเอาวิญญาณของมนุษย์หรือสัตว์ที่ ชะตาถึงฆาต พาไปยังยมโลก เพื่อตรวจสอบบาปบุญความดีความชั่ว ในขณะที่มีชีวิตอยู่
วิญญาณบาปจะถูกนำตัวส่งไปนรก 8 ขุมใหญ่ แต่ละขุมแบ่งย่อยขุมละ 36 แห่ง แต่ละแห่งมีการลงทัณฑ์และทรมานอีก 800 ด่าน แต่ละด่านมีเครื่องทรมานนับไม่ถ้วน วิญญาณบางดวงอาจตกนรกทั้ง 8 ขุมเลยก็มี โดยเฉพาะคนที่ทำกรรมชั่วมหันต์ หรือเรียกว่า "อนันตริยกรรม" มีอยู่ 5 อย่าง คือ 1.ฆ่าพ่อ 2. ฆ่าแม่ 3. ฆ่าพระอรหันต์ 4. ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก 5. ทำร้ายพระพทุธเจ้าห้อเลือด
หลัง จากที่คนเราตายประมาณ 1-2 วัน ปกติแล้ว เขาจะไม่รู้ว่าตัวเองตาย 7 วันให้หลังเขาจึงรู้ว่าตนเองตาย แล้ว วิญญาณจะถูกกักบริเวณไว้ 49 วันเพื่อรอพิจารณาคดี ในระหว่างนั้นผู้ตายก็กำลังรอบุญกุศลจากลูกหลานทางโลกที่กำลังง่วนอยู่กับ งานศพ

เรามาดูปรากฏการณ์ 49 วัน ชีวิตหลังความตาย ขณะที่วิญญาณของผู้ตายออกจากร่าง ชีวิตหลังความตายก็เริ่มต้นเปิดฉากขึ้นในโลกที่ผู้ตายต้องเข้าไปเพียงลำพัง เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเลยที่สามารถเอาติดตัวจากโลกมนุษย์ได้ เว้นเสียแต่บาปกับบุญเท่านั้น
เจ็ดวันรอบแรก
วิญญาณผู้ตายต้องเดินผ่านดงหมาป่า ซึ่งมีฝูงหมาป่าดุร้ายเหมือนเสือขวางทาง เมื่อวิญญาณบาปไปถึง ก็เกิดหวาดกลัวไม่กล้าเดินต่อไป ฝูงหมาป่าเห็นดังนั้น ก็กระโจนเข้าขย้ำขบกัดวิญญาณบาปจนเลือดท่วมตัว กรีดร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดทุกขเวทนา
ส่วนวิญญาณ ผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึงดงหมาป่า ก็จะมีหมู่เทวทูตคอยพิทักษ์คุ้มครอง พวกหมาป่าได้แต่นิ่งเฉย ไม่กล้าทำอะไร จึงผ่านไปได้โดยปลอดภัย
เจ็ดวันรอบที่ สอง
เมื่อวิญญาณผู้ตายมาถึงด่านประตูผี เจ้าหน้าที่ผู้รักษาด่าน เมื่อเห็นเป็นวิญญาณบาป ก็จะทุบตีอย่างไม่ปรานี และยังมีพวกเจ้ากรรมนายเวรพากันมาทวงหนี้เวลานั้น
ส่วนวิญญาณ ผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึงด่านประตูผี จะได้รับการต้อนรับและสามารถผ่านด่านนี้ไปโดยปลอดภัย
เจ็ดวันรอบที่ สาม
เมื่อวิญญาณผู้ตายมาถึงยมโลก ถ้าเป็นวิญญาณบาปก็จะถูกโซ่ตรวนไว้ และถูกบังคับนำไปอยู่ตรงหน้าหอกระจกส่องกรรม ยามมีชีวิตทำชั่วอะไร ภาพก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ เสร็จแล้วก็จะถูกคุมตัวไปรับการพิจารณาโทษ ถึงวิญญาณบาปจะเริ่มสำนึกผิด ตอนนี้แต่ก็สายเสียแล้ว
ส่วนวิญญาณผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึง จะได้รับการต้อนรับ มีเจ้าหน้าที่พาไปท่องเที่ยวนรกขุมต่างๆ และพาไปดูสภาพของบรรดาญาติพี่น้องที่ ทำบาป กำลังรอคอยการพิจารณาตัดสินความผิด
เจ็ดวันรอบที่ สี่
เมื่อมาถึงด่านภูเขากระดาษเงินกระดาษทอง การจะขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้ยากลำบากมาก กระดาษเหล่านี้ได้มาจากลูกหลานญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์หลงงมงายเผาส่งไปให้ ทับถมกันจนเป็นภูเขาเลากา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วแม้ผู้ตายจะได้รับก็ไร้ประโยชน์
เจ็ดวันรอบที่ ห้า
วิญญาณผู้ตายมาถึงหอดูบ้านเดิม ได้เห็นลูกหลาน คนในครอบครัวต่างไว้ทุกข์ด้วยความเศร้าโศกเสียใจกับการตายของตน ถึงตอนนี้จึงได้รู้ว่าตนเองตายแล้ว ไม่อาจกลับบ้านได้อีก ได้แต่เสียใจอาลัยอาวรณ์
เจ็ดวันรอบที่ หก
เมื่อวิญญาณผู้ตายมาถึงด่านคุมบัญชี ยมบาลจะสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจดูบาปบุญที่ผู้ตายได้สร้างสมตอนมีชีวิต หลังจากหักลบกันแล้ว ถ้าบุญมีมากกว่าบาปก็จะให??ไปเกิดยังสุคติภูมิ ถ้าบาปมีมากกว่าบุญ จะส่งไปยังนรกภูมิ รับทุกข์อย่างน่าเวทนา
เจ็ดวันรอบที่ เจ็ด
เมื่อวิญญาณผู้ตายไปถึงด่านตรวจสอบ ยมบาลก็จะสั่งเลขาให้ตรวจสอบดูว่า ผู้ตายตอนมีชีวิตอยู่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือไม่ ถ้าได้ถือศีลกิเจ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ก็จักลหุโทษ ถ้ามัวหลงผิดฆ่าสัตว์เพื่อความสุขของปากท้องก็จะเพิ่มโทษเป็นเท่าตัว.

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ขอให้ทุกคนในขณะมีชีวิตอยู่นั้น เร่งสะสมความดีกันให้มากๆ นรก-สวรรค์นั้น ไม่ใช่สิ่งลวงโลก ตอนนี้ท่านอาจยังไม่เห็น แต่สักวันท่านก็ต้องเห็น กฏแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องจริง ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ...

Monday, March 29, 2010

โอวาทหลวงปู่

โอวาท พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

(สิริจันโท จันทร์)

วัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง กรุงเทพมหานคร

ในพวกเราชาวสยามนี้ ควรเห็นได้ว่าเป็นคนมีบุญมาก เกิดมาได้พบพุทธศาสนาทีเดียว ดัวยบรุพบุรุษพาถือมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว อย่าพากันมีความประมาท พึงตั้งใจปฏิบัติให้เห็นผลจนรู้สึกตัวว่า เรามีที่พึ่งอันใดแล้ว จึงจะเป็นคนที่ไม่เสียทีที่ได้พบพระพุทธศาสนา

------------------------

อะไรเป็นปัจจัยของอวิชชา เรานั่นแหละเป็นปัจจัยของอวิชชา อะไรเป็นปัจจัยของเรา อวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัยของเรา ถ้ามีอวิชชาก็มีเรา ถ้ามีเราก็มีอวิชชา

ตำราแบบแผนมิใช่ยา ยามิใช่ตำราแบบแผน ความไข้ไม่ได้หายด้วยยาอย่างเดียว ต้องอาศัยกินยานั้นด้วยไข้จึงหาย

------------------------

โอวาท หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ธรรมะก็มีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกเจ้าทั้งหลาย ท่านได้เสียสละเช่น ความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น พระองค์ท่านผู้มีคนยกย่องสรรเสริญ คอยปฏิบัติวัฏฐากแล้วได้เสียสละมานอนกับดินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ถึงกับอดอาหารเป็นต้น

การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือ ธรรมะ เป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ อันเป็นสถานที่สงบสงัด และได้ทรงพิจารณาซึ่งความจริง คือ อริยสัจ 4 นี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า

------------------------

โอวาท หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งของที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำความผูกพัน และมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปมิได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นที่จะสำเร็จเป็นประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย

------------------------

โอวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา อะไรสักอย่าง เราเพ่งดูซี มันไม่เป็นแก่นสารที่ไหนเลย ถ้าเป็นแก่นสาร ที่ไหนเลย ถ้าเป็นแก่นสารทำไมคนจึงล้มหายตายจาก ถ้าเป็นแก่นสารตัวตนของเรา ทำไมเป็นหวัด เป็นไอ เป็นไข้ ทำไมเป็นหนาวเป็นร้อน เป็นทุกข์เป็นร้อน เพราะเหตุนี้ พึงเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน

ตาสำหรับเห็น รูป ใจ เป็นผู้รู้ว่า รูปดี – รูปชั่ว รูปไม่ดี – รูปไม่ชั่ว แท้ที่จริง รูปทั้งหลายเขาไม่ได้ว่า รูปเขาดี เขาไม่ได้ว่าเขาชั่ว เราเป็นผู้ไปว่าเอา สมมติเอา

- พระสติ หมายถึงลมเข้า

- พระวินัย หมายถึงลมออก

- พระปรมัตถ์ หมายถึงผู้รู้ลมเข้าลมออก

------------------------

โอวาท หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชี่ยงใหม่

อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา ได้ถูกไฟ 11 กองเผาอยู่เสมอ เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ

1. ราคะ ความกำหนดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มี รูป เป็นต้น

2. ไฟโทสะ คือความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ

3. ไฟโมหะ ได้แก่ความลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์

4. ชาติ คือ ไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์

5. ชรา คือ ไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์

6. มรณะ คือ ไฟแห่งความตาย อันเป็นทุกข์

7. โสกะ คือ ไฟแห่งความเศร้าโศก

8. ปริเทวะ คือ ไฟบ่นเพ้อร่ำไรรำพัน

9. ทุกขัง คือ ไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ

10. โทมนัส คือ ไฟแห่งความเสียใจ

11. อุปายโส คือ ไฟแห่งความคับแค้นใจ

ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ต้องพากันงมงายเวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ

------------------------

โอวาท หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปล่อยวางอย่าไปยึดถือ ตัวกูของกู ตัวเราของเรา มันเป็นเพียงสมมุติ ให้เป็นตัวเราของเราเท่านั้นแหละ ธาตุแท้มันไม่ได้เป็นของใคร เมื่อมีเหตุ ปัจจัยเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อหมดเหตุ ปัจจัยมันไปไหน ก็ละลายลงไปสู่พื้นแผ่นดิน ธาตุดินก็ไปสู่ธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไหลไปสู่ธาตุน้ำ ไหลไปในอากาศ ธาตุลมก็ไปกับลม ธาตุไฟความร้อนความอบอุ่นมันก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุเหล่านี้เมื่อเขาไหลเข้าไปอยู่ในสภาพของเขา เขาก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร เพราะธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติประจำโลกประจำวัฎฎสงสารอันนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว มาถึงพวกเราภาวนาจะต้องให้รู้เข้าใจ จิตมายึดถือความทุกข์ความเวทนานี้เป็นความหลง

------------------------

โอวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี

การปฏิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมีแต่คุณ คือจิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใส จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีความสุขไม่มีความทุกข์ จะเข้าสู่สังคมใดๆ ก็องอาจกล้าหาญ การทำความเพียร เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นแล้วจะไม่มีความหวั่นไหว ไม่ความเกียจคร้านต่อการงาน ทั้งทางโลกทั้งทางธรรม จากนั้นก็เป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำลัง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะทำการธรรมก็สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านจึงสั่งสอนอบรมให้เกิดให้มีขึ้นมาเบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางมาแห่งวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยกัน

------------------------

โอวาท หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ให้พิจารณาความตาย

นั่งก็ตาย

นอนก็ตาย

ยืนก็ตาย

เดินก็ตาย

------------------------

โอวาท หลวงปู่หลุย จันทสโร

วัดถ้าผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นี้แหละ…จิตของปุถุชนมันดื้อมันด้าน ดื้อด้านมันไม่ลงรอย จิตชนิดนี้ต้องทรมานด้วยกำลังศีลหนึ่ง กำลังทานหนึ่ง ทานของอวัยวะนะ ไม่ใช่ทานอามิสนี่ทาน ขี้เกียจมาเอาทานมันให้ขยันนั่น คิดอดีตมาเอ้า! ทานมันนะบริจาคนั้น ง่วงเหงาหาวนอน ทานมันนะไม่ต้องนอนนั่น หัดมันนะนั่น ทานละ ไอ้ความชั่วนะนั่น นี้แหละฉันใดก็ดีให้ตั้งอกตั้งใจ

------------------------

โอวาท พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

“พระพุทธเจ้าองค์เอก สอนธรรมชั้นเอกทั้งนั้นๆ ให้เราประพฤติปฏิบัตินำเข้าไปต่อกรกับกิเลส เมื่อถึงขั้นเอกจิตแห่งผู้ปฏิบัติแล้ว ทำไมจะไม่เป็นเอกธรรม สำหรับจิตดวงที่พ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวงแล้ว ต้องเป็นเอกจิต เอกธรรม นั้นละความเลิศความประเสริฐอยู่ตรงนั้น พระพุทธเจ้าพ้นจากทุกข์ก็พ้นที่ตรงนั้น เลิศก็เลิศที่ตรงนั้น ไม่มีใครบอกว่าเลิศก็เลิศที่ตรงนั้น เป็นของอัศจรรย์ที่ตรงนั้นนอกนั้นไม่ปรากฎว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่อัศจรรย์ และเป็นคู่แข่งแห่งธรรมอันเอกของพระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นแล้ว หรือบริสุทธิ์แล้วนั้นเลย”

------------------------

โอวาท หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต

วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

เป็นครูสอนคนอื่นก็ดีอยู่ หากสอนตัวเองด้วยก็จะดีมากขึ้น เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูก ข้อนั้นผิด เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คะแนนฝ่ายดีกับคะแนนฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมันมากน้อยกว่ากัน กับไปตรวจตัวเองเด้อ

ศีลมีมากหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจของเจ้าให้ดีอย่างเดียวให้ดี กาย วาจา ก็จะดีไปด้วยกันนั่นแหละ

------------------------

โอวาท หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

แม้จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากมายมีคนเคารพนับถือมาก ทำการก่อสร้างวัตถุได้อย่างมากมาย หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม ถ้ายังประมาทอยู่ก็ยังว่าไม่ได้รสชาดของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของภายนอกเท่านั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ภายนอก

คือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง หรือเพื่อสัญญลักษณ์ของศาสนาวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้นคือ ความพ้นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้จิตหนึ่ง

- จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย

- ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์

- จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค

- ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

------------------------

โอวาท หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

วัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

“เรือที่นายช่างต่อดีแล้วอย่างแข็งแรง เมื่อถูกคลื่นกระทบแล้วไม่เสียหายฉันใด จิตของบุคคลใดเมื่อฝึกฝนให้ดีแล้ว คลื่นของกิเลสกระทบเข้าย่อมไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น”

อธิบายว่า เมื่อบุคคลใดฝึกจิตนี้ให้มั่น อยู่ในศีล อยู่ในสมาธิ อยู่ในปัญญา เต็มที่แล้วย่อมไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแปดประการฉันนั้น คือ เมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ และมีความสุขกายสบายใจ ก็ไม่เพลิดเพลินมัวเมาในลาภ เป็นต้น และเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ถูกทุกข์ครอบงำกายและจิตก็ไม่หวั่นไหว คือไม่เศร้าโศกเสียใจ ทั้งนี้ก็เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย มีเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับไปเป็นธรรมดา เหมือนกับเรือที่นายช่างต่อดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อคลื่นฉันนั้น

------------------------

โอวาท หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

การปฏิบัติ สำคัญที่การรวมจิตเป็นใหญ่ เพราะพื้นฐานแห่งความดี ความชั่วย่อมเกิดที่จิต ถ้าจิตตัวนี้ปราศจากสติ เป็นเครื่องคุ้มครองหรือประคับประคองเมื่อใด เมื่อนั้นจิตดวงนี้ก็จะต้องมีความเผลอไป นึกสร้างบาปกรรมใส่ตัวเลย เพราะฉะนั้นการอบรมจิตให้มีสติจึงเป็นสิ่งจำเป็น ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส โลภะ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ถ้าต้องการมีความสุข ต้องการกำจัดกิเลสของตนกิเลสในใจตนเอง ไม่ใช่ไปตั้งหน้ากำจัดกิเลสคนอื่น

------------------------

โอวาท พระอาจารย์วัน อุตตโม

วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

เพราะฉะนั้นตัณหานี้เราจะต้องเพียรพยายามละ คือ ตั้งความเพียรของเราไว้ “ปหานปธาน” เพียรละความชั่วของเรา “สังวรปธาน” เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น “อนุรักขนาปธาน” เพียรรักษาความดีของเราไว้ นี้เรียกว่าหลักของความเพียร จะต้องเพียรพยายามที่เราจะละความชั่วของเราได้ การบำเพ็ญปหานธรรมนี้ เราต้องทบทวนเข้ามา คือทบทวนเข้ามาภายใน มาดูที่จิตใจของเรา ดูที่กายของเรา ดูที่วาจาของเรา ต้องให้ดูกิริยามารยาทของเราที่แสดงออกที่เราปฏิบัติอย่างหนึ่งนั้นดีหรือชั่ว เราต้องมาตรวจค้นดู ทบทวนดู หรือส่องดู เงาของเจ้าของ การภาวนานี้แหละเท่ากับว่าเป็นการส่องดู เป็นแว่นธรรมเป็นกระจกสำหรับส่องดูตัวของเรา ให้รู้ให้เห็นว่าเป็นอย่างไรดีหรือชั่ว สะอาดหรือเศร้าหมอง เราจะได้รู้ได้เห็นด้วยอาศัยการภาวนานี้แหละ

------------------------

โอวาท หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

วัดบรรพตคีรี อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

“การพิจารณาไตรลักษณให้เห็นชัดประจักษ์แจ้งนี้นา ไม่หวังว่าจะหอบใส่รถไปพระนิพพานด้วยหรอก อนิจจาเอ๋ย พิจารณาเพื่อถอนความหลงของเจ้าตัวที่เข้าใจผิดว่าเป็นของเที่ยงเป็นของสุขเป็นตัวเราเขาสัตว์บุคคลต่างหาก เพื่อให้หน่ายความหลงของเจ้าตัวที่เคยหลงมาอวิชชาก็ว่าปัญญาเป็นหัวหน้าของสมาธิและศีลตอนนี้มีพระกำลังมาก”

------------------------

โอวาท พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

วัดป่าแก้ว อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

สุขได้สบายได้ แต่สุขสบายเพราะความหลงของใจ ถ้าเกิดโรคภัยเจ็บปวดขึ้น เขาจะมาเต้นรำขนาดไหนให้ดูมันก็ไม่เพลิน จะเอาเงินจะเอาทองมาวางกองเทินไว้ใหญ่โตขนาดไหน มันก็ไม่มีความสุข เพราะใจมันเป็นทุกข์มันห่วง มันหวงในชีวิต คนที่ไม่มีความสุขของใจ โดยส่วนใหญ่ไปสถานที่ใด ใครเข้ามาหาก็บ่นทุกข์อย่างนั้น ก็บ่นทุกข์อย่างนี้ ทั้งๆ ที่มีสมบูรณ์ทุกอย่าง บ้านช่องห้องหออะไรก็ใหญ่โต เงินทองข้าวของอะไรเยอะแยะ แต่ก็บ่นว่า ทุกข์ ทุกข์ มันทุกข์อะไร มันทุกข์ใจ

------------------------

โอวาท พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญจารย์

(เทสก์ เทสรังสี)

วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ใจ คือผู้อยู่เฉยๆ และรู้ตัวว่าเฉย ไม่คิด ไม่นึก อันนั้นแหละ เรียกตัว ใจ

จิต คือผู้นึกคิด มันคิด มันนึก มันปรุง มันแต่ง สัญญาอารมณ์ทั้งปวงหมด อันนั้นเรียก จิต

เรื่องเรียนพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเรียนอื่นไกล เรียนเข้ามาหาใจเสียก่อนแล้วหมดเรื่องพระพุทธเจ้าทรงสอนสาวกทั้งหลาย ก็สอนถึงใจทั้งนั้น ถึงที่สุดก็คือใจ เรียกว่า พุทธศาสนาสอนถึงที่สุดก็คือ ใจ เท่านั้น แต่ว่าเรายังทำไม่ถึงละซี เราจะต้องพยายามฝึกหัดอบรมใจของตนนี้ให้มันถึงที่สุด มันจึงจะเข้าถึงที่สุดของพุทธศาสนา หมดพุทธศาสนาได้

“ผู้ใดทำใจเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”

------------------------

โอวาท หลวงปู่คำดี ปภาโส

วัดถ้ำผาปู่นิมิต อำเภอเมือง จังหวัดเลย

การปฏิบัติ ศีล – ธรรม ต้องมีเหตุมีผล เหตุดี ผลก็ดี ถ้าเหตุร้ายผลก็ร้าย เปรียบเหมือนของภายนอก อย่างผลไม้ต่างๆ มันก็เกิดจากต้นของมัน ถ้าไม่มีต้น ก็ไม่มีผล จะเป็นข้าวกล้าผลไม้ในไร่ในสวนก็เช่นกัน ดอกหรือผลของมัน พวกชาวสวนทั้งหลายเขาก็ปฏิบัติตกแต่งแต่ลำต้นของมันเท่านั้น คือเขาต้องใส่ปุ๋ยดายหญ้ารดน้ำและรักษาสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ต้นไม้ของเขาทั้งนั้น เมื่อเขาปฏิบัติลำต้นของมันดังกล่าว เรื่องของดอกและผลมันก็เป็นเอง ดังนี้

ทีนี้การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเราอยากเป็นคนมีเงินทอง อยากร่ำรวยเหมือนเขา อยากมีร่างกายสวยเหมือนเขา อยากมีลาภและมียศเหมือนเขา เราจะไปปฏิบัติตรงไหน พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ถ้ากายของเราดี วาจาของเราดี จิตใจของเราดี ได้ลาภมาก็มากและใหญ่ได้ ยศก็ใหญ่ได้ อะไรมาก็มีแต่ของดีทั้งนั้น ถ้ากาย วาจา ใจดีแล้ว

เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราเป็นบาปแล้ว ได้อะไรมาก็เป็นของไม่ดีทั้งนั้น

------------------------

โอวาท ท่านพ่อลี ธัมมธโร

วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถจะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กิเลสเพียงหยาบๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีล แค่นี้ยังละกันไม่ค่อยจะออกนี้เป็นเพราะขาดความสมบูรณ์ แห่งศีล สมาธิ ปัญญากระมัง จึงได้เป็นอย่างนี้

ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือกๆ สมาธิก็คงเป็นสมาธิอย่างเปื้อนเปรอะ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือน เคลือบเอาเสมอเหมือนกับดวงกระจกที่ทาด้วยปรอท ฉะนั้นจึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จด้วยความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้ ตกอยู่ในลักษณะมีดที่คมนอกฝัก คือฉลาดในเชิงพูด เชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี้เรียกว่า คมนอกฝัก

------------------------

โอวาท พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ

วัดเจติยาคีรีวิหาร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

อย่าพากันไว้ใจในชีวิตของตน ชีวิตเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน วันนี้เรามีชีวิตอยู่ หายใจอยู่ วันหลังมาชีวิตจะเป็นจั๋งใด๋ดีหรือไม่ ชีวิตของเรานั้นวันหลังจะเป็นอย่างไรในพรรษานี้ พวกเราทั้งหลายเชื่อหรือชีวิตเราจะตลอดพรรษา เพราะความตายเป็นของไม่มีกาลเวลา จิตมันจะตายเวลาไหนก็ไม่รู้เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุดแท้แต่มันจะเป็นไป เมื่อเรามีชีวิตอยู่ อย่าพากันประมาท จงพากันรีบบำเพ็ญความดี ให้เกิดให้มีขึ้นในดวงจิต ความคิดของเรา

รู้อื่นหมื่นแสน ยังไม่แม้นเท่ารู้ตน

รู้อื่นหมื่นล้าน ยังไม่พ้นพาลเหมือนดีตน

ชนะอื่นหมื่นโกฏิ ยังไม่พ้นโทษเหมือนชนะตน

รู้ตนดี ตนชนะตน นั้นยอมคนผู้ชนะดี

------------------------

โอวาท หลวงปู่ศรี มหาวีโร

วัดประชาคมวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ในเรื่องของจิตคล้ายๆ กับว่า พวกนิวรณ์ มันเคลื่อนหรือไหลหนีทำนองนั้นแหละ เพราะสติเราตั้งจดจ่ออยู่ แต่ยังไม่เข้าถึงจิต พออย่างนี้เคลื่อนไป ก็รู้เรื่องของจิตแล้วไปกำหนดเกี่ยวกับธรรมชาติรู้ อันนี้พวกนิวรณ์ทั้งห้ามาแสดงท่าทางขึ้นอยู่อย่างนั้น เราก็พยายามทดสอบลองดู คือมันถอยๆ ออกพอถอยออกไปหน่อย ก็หุบปั๊บ…!!! พอสติเข้าไปถึงก็ถอนออกทันที รู้เรื่องของกันและกันอยู่อย่างนี้…แต่ว่าจำพวกนิวรณ์ทั้งสี่อย่างมาแรงๆ อย่าโผงผาง เรารู้จักดีไอ้…ตัว “ถีนมิทธะ” คือความง่วงเหงาหาวนอน มันมาอย่างละเอียดอ่อนที่สุด

------------------------

โอวาท พระภิกษุพระยานรรัตน์ ราชมานิต

(ธัมมวิตักโกภิกขุ)

วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

“ความสงบเป็นสุขจริงหนอ!”

ขณะใดที่ตั้งความระลึกรู้อยู่เฉพาะหน้า เพ่งพินิจพิจารณาสังเกตดูอารมณ์ภายในที่ผ่านใจ ไม่เห็นมีอะไรเป็นแก่นสารมั่นคง ผ่านมาแล้วก็ล่วงเลยลับดับหายไปทุกๆ ขณะ ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายปล่อยวางเป็นกลางไม่เข้าไปพัวพันรักใคร่ชอบชังติดข้องอยู่ในอารมณ์ใดๆ ขณะนั้นกายใจเบาสบายชุ่มชื่นเยือกเย็นสงบสงัดอยู่ภายใน เป็นสุขวิหารธรรมที่ได้อาศรัยอยู่ทุกวันนี้ฯ

 

ขอประทานน้อมจิตต์ถวายกุศลสนองพระคุณ

ธัมมวิตักโก