เปิดหลักฐาน มัด กกต.หมกเม็ดแจกใบแดง-ดองคดีอาญาอุ้ม"บุญจง วงศ์ไตรรัตน์" ?
นายบุญจงยังมีคดีความอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)อีกหนึ่งคดี แต่ไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะ เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่น่าสงสัยว่า มีความพยายามในการหมกเม็ดและดองคดีเพื่อช่วยนายบุญจงให้อยู่ในตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีนานที่สุด
เรื่องดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างนายพลพีร์ สุวรรณฉวี ผู้สมัครหมายเลข 3 พรรคเพื่อแผ่นดินกับนายบุญจง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพลพีร์ ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่นายบุญจงแพ้
อย่างไรก็ตามมีการร้องเรียนการไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย จน กกต.ให้มีการลงคะแนนใหม่(ให้ใบเหลืองนายพลพีร์)ในวันที่ 20 มกราคม 2550 ผลปรากฏว่า นายบุญจงชนะเลือกตั้งและมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 21 มกราคม จนนายบุญจงได้เป็น ส.ส.มาจนทุกวันนี้
แต่นายบุญจงยังไม่พ้นบ่วงกรรรม ซึ่งเผ็นผลพวงจากการที่นายพลพีร์ร้องเรียนนายบุญจงต่อ กกต.ไว้ในการลงคะแนนครั้งแรกนั้น ไมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสืบสวนสอบสวน จน กระทั่งกกต.มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551ในการประชุมครํ้งที่ 48/2551ว่า นายบุญจงมีพฤติการณ์หลอกลวง ใส่ร้ายด้วยความเท็จจริงหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองเพื่อจูงใจฯเป้นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53(5) ให้ดำเนินคดีอาญาแก่นายบุญจง
ปรากฏว่า นับแต่วันที่ 3 เมษายน 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 10 เดือน กกต.ยังมิได้ดำเนินการใดๆแก่นายบุญจงตามที่ กกต.มีมติแต่อย่างใด แม้ตแคำวินิจฉัยสำหรับการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ยังยกร่างไม่เสร็จ
ข้ออ้างข้างๆคูๆของเจ้าหน้าที่ กกต.คือ มีสำนวนอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ถ้าพิจารณาจากการใช้และการตีความกฎหมายของ กกต.แล้วยิ่งทำให้เห็นพฤติการณ์ ของกกต.ชัดเจนขึ้นว่า ต้องการช่วยเหลือและอุ้มนายบุญจงจริงหรือไม่
เพราะ การที่ กกต.มีมติว่า นายบุญจงกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ หลังจากที่ประกาศผลเลือกตั้งแล้ว กกต.ต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายบุญจงเป็นเวลา 5 ปี(พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯมาตรา 111)
มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมในคดีทำนองเดียวกันว่า กกต.มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ให้ใบแดง)ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่แพ้การเลือกตั้งหลายคดี เช่น
หนึ่ง การประชุม กกต.ครั้งที่ 134/2551 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) นายวิทวัส พันธ์นิกุล ผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์(ไม่ได้รับเลือกตั้ง) ตามมาตรา 236(5)และ (6)แห่งรัฐธรรมนูญฯและ มาตรา 10(10)และ(12)แพาง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 และมาตรา 111 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯมาตรา 111(เอกสารแถลงข่าวสำนักงาน กกต.เลขที่ 210_2551)
สอง การประชุม กกต.ครั้งที่ 95/51 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ผู้สม้คร ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อแผ่นดินซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง
สาม การประชุม กกต.ครั้งที่ 84/2551 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)นายกิตติพงศ์ พรหมชัยนันท์ ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 8 เขต 3 จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อแผ่นดินซึ่งม่ได้รับเลือกตั้ง
สี่ การประชุม กกต.ครั้งที่ 106/2551 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)ผู้สมัคร ส.ว.สุโขทัยซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง
แต่ในกรณีนายบุญจง กกต.ไม่ยอมให้ใบแดงและส่งคำร้องให้แก่ศาลฎีกาเหมือนกับหลายคดีข้างต้น(เป็นการช่วยนายบุญจงไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.) กลับมีมติเพียงว่าให้ดำเนินคดีอาญาแก่นายบุญจงเท่านั้น และยังดองคดีอยู่นานเกือบ 1 ปี
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว กกต.ต้องมีคำตอบต่อสาธารณะอย่างชัดเจน มิเช่นนั้นแล้ว อาจมีชะตากรรมหรือดำเนินรอยตาม พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธาน กกต.กับพวก
------------------------------------------------
หึ่งอีกน้ำพริกแจก ชาวบ้านไม่กล้าแตะระบุวันผลิตสับสน
ชาวพัทลุงผวาถุงยังชีพมีปลากระป๋องเน่า ยังเจอข้าวสารแดงหุงแล้วแข็งเป็ก ส่วนน้ำพริกเผาก็ระบุวันที่ผลิตสับสนเลยไม่กล้ากิน และไม่กล้าใช้ยาสีฟันยี่ห้อ “เฮอร์คริค” เพราะไม่เคยได้ยินชื่อ ส่วน “วิฑูรย์” ยังท่องจำ “ไม่มีการทุจริต ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นของที่รับบริจาคมา” แต่หลบร้อนไม่ไปเยือนลาว กับนายกฯ ขณะที่นักวิชาการเผยงานนี้ข้าราชการไม่น่าเกี่ยวข้อง แต่คงมีใครอาสาจัดการให้ เมื่อเป็นข่าวใหญ่ขึ้นมาคงเบิกงบไม่ได้แล้ว เชื่อเรื่องนี้มีคนขาดทุนแน่นอน ทางด้านนักข่าวยังตามตัว “วิเชน สมมาต” เช็กจากสำนักฯ ทะเบียนราษฎรแล้วไม่พบชื่อนี้ แถมปิดมือถือหนี ความเคลื่อนไหวของปัญหาปลากระป๋อง ยี่ห้อชาวดอย ที่นำไปแจกผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ จ.พัทลุง แล้วเกิดเน่าเสีย จนกลายเป็นข่าวใหญ่มาหลายวันนั้น เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพียงสั้น ๆว่า “ขอยืนยันเรื่องที่เกิดขึ้นไม่มีการทุจริต ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นของที่รับบริจาคมา ผมจะไม่พูดเรื่องนี้อีกแล้ว เดี๋ยวจะสับสนไปกันใหญ่ จะขอชี้แจงทีเดียวผ่านสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น” ด้านนายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ เลขานุ การ รมว.การพัฒนาสังคมฯ กล่าวถึงกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุมีคนใกล้ชิดนายวิฑูรย์ ที่มีอักษรย่อ “อ” ร่วมมือกับ “ช” เกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตการจัดซื้อปลากระป๋องเน่า ว่าตนและทีมงานเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานนายวิฑูรย์ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่ฝ่ายค้านนำเรื่องมาปะติดปะ ต่อกันจนไร้สาระ หากจะคอร์รัปชั่นปลากระป๋องจะได้กันเท่าไหร่ ขอยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และนายวิฑูรย์ยังไม่พร้อมที่จะพูดอะไร แต่ไม่ได้ล่องหนไปไหน เพียงแต่ยกเลิก กำหนดการเดินทางไปประเทศลาวร่วมกับนายกรัฐมนตรี โดยไม่แจ้งเหตุผลล่วงหน้า ขณะที่นายชาญยุทธ โฆศิรินนท์ ที่ปรึกษา รมว.การพัฒนาสังคมฯ ซึ่งมีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร “ช” ตามที่ฝ่ายค้านระบุ กล่าวว่าตนไม่มีอะไรชี้แจง เพราะไม่มีข้อมูลและไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้น ตนเข้ามาเป็นคณะทำงานดูแลด้านวิชา การยุทธศาสตร์และนโยบายของกระทรวงเท่านั้น ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านมีข้อมูลหลักฐานที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายชาญยุทธตอบว่าไม่หวั่นไหวอะไร เพราะไม่ทราบจริง ๆ ตนเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สามารถสอบถามข้าราชการได้ว่าตนเป็นคนอย่างไร ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่าสมัยที่เป็นรองปลัดกระทรวงฯ เคยรู้จักนายวิเชน สมมาต หรือไม่ นายชาญยุทธตอบว่าเขาไม่เคยมาติดต่อตน เมื่อถามว่ารู้จักปลากระป๋องยี่ห้อชาวดอยหรือไม่ ที่ปรึกษา รมว.การพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่าไม่รู้จัก จริง ๆ รู้จักแต่ชาวดอยทางภาคเหนือ ทางด้านนายจิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ในเชิงวิชาการมีหลักในการจัดของเพื่อช่วยเหลือประชาชน จาก 2 ส่วน คือ หน่วยงานรัฐ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไม่น่ามีบทบาทนี้แล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) อีกส่วนคือภาคประชาชน โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ต้องมีกลไก สิ่งที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต้องเน้นมากในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย คือ การฟื้นฟู ไม่ใช่การเอาของไปแจก เพราะมี ปภ. ดูแลเรื่องแจกจ่ายถุงยังชีพเบื้องต้นอยู่แล้ว และเรื่องนี้ข้าราชการไม่น่าจะเกี่ยวข้องด้วย เพราะหากเป็นเช่นนั้นต้องมีการตั้งโครงการเบิกงบหลวง แต่เท่าที่ทราบกรณีนี้ยังไม่มีการตั้งโครงการ จึงเป็นได้ว่าอาจจะมีใครสักคนอาสาจัดการให้ แต่เมื่อมาถึงวันนี้เกิดเป็นข่าวใหญ่โตขึ้นมา คงเบิกงบประมาณไม่ได้แน่ คิดว่างานนี้มีคนขาดทุนแน่นอน ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการตรวจสอบรายชื่อ นายวิเชน สมมาต บุคคลที่นายวิฑูรย์อ้างว่าเป็นผู้บริจาคปลากระป๋องชาวดอย จากสำนักงานทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาด ไทย ปรากฏว่าไม่พบชื่อนายวิเชนในสารบบ ของทะเบียนราษฎร เชื่อว่านายวิฑูรย์ให้ชื่อไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันจากการติดต่อนายวิเชนทางโทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 52 พบว่าเป็นระบบฝากข้อความไม่สามารถติดต่อนาย วิเชนได้เลย ทางด้านนางพรเพ็ญ ลีลาพันธุ์ ผอ.ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม หรือ ศูนย์รับบริจาคบ้านราชวิถี กล่าวถึงกรณีโฆษกพรรคเพื่อไทยระบุว่าที่บ้านราชวิถีเป็นสถานที่เก็บปลากระป๋องยี่ห้อชาวดอยที่เตรียมส่งไปบริจาคจำนวน 17,500 กระป๋อง ว่าขอยืนยันศูนย์รับบริจาคแห่งนี้ไม่เคยได้รับบริจาคปลากระป๋องยี่ห้อ “ชาวดอย” แม้แต่กระป๋องเดียว และพร้อมให้ทุกฝ่ายเข้ามาตรวจสอบ จึงไม่เข้าใจว่าข่าวที่ออกมานั้น ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแค่ไหน ที่ผ่านมาการบริจาคสิ่งของผ่านศูนย์แห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าเด็กนักเรียน ส่วนการบริจาคสิ่งของบริโภคที่เป็นปลากระป๋องนั้น หลายปีที่ผ่านมาทางศูนย์จะรับบริจาคเฉพาะยี่ห้อดังเท่านั้น ขณะที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดพัทลุง ได้ส่งตัวอย่างปลากระป๋องยี่ห้อ “ชาวดอย” มาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขณะนี้กำลังประสานส่งให้สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบคุณภาพอาหาร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านกำลังตรวจสอบเรื่องดังกล่าวพร้อมเป็นประเด็นที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องของฝ่ายค้าน เราไม่ได้มองเป็นเรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องของสาธารณะที่สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบ ส่วน นพ.บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง กล่าวถึงกรณีที่สาธารณสุขจังหวัดพัทลุงส่งปลากระป๋องชาวดอย 10 กระป๋องไปตรวจพิสูจน์ที่จังหวัดตรังและกำหนดให้ส่งผล ตรวจภายใน 7 วันนั้น วันนี้ครบ 7 วันแล้ว แต่ผลตรวจยังไม่มา จึงรู้สึกแปลก ๆ เหมือนกัน เพราะถ้าดูด้วยตาเปล่าก็รู้ว่าเป็นของเสีย แต่ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น ที่ผลตรวจยังไม่ออกมา ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จากการส่งตัวอย่างปลากระป๋อง 30 ตัวอย่างจากพัทลุง ส่งมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลออกมาแล้วไม่พบจุลินทรีย์ หรือเชื้อโรคใดปนเปื้อน แต่สิ่งที่พบคือวัตถุดิบในการผลิต คือ เนื้อปลาที่นำมาผลิตไม่มีคุณภาพและเน่าเสีย ถือว่าเข้าข่ายผลิตอาหารผิดมาตรฐานตามที่กำหนด ไว้ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายพิจารณา ฐานความผิดเพื่อดำเนินการต่อไป ผู้สื่อข่าวในพัทลุง รายงานเพิ่มเติมว่าชาวบ้านที่ได้รับถุงยังชีพ นอกจากจะเจอปลากระป๋องเน่าแล้ว ภายในถุงยังชีพยังมีข้าวสารแดง ซึ่งหุงแล้วข้าวแข็ง ชาวบ้านจึงไม่รับประทาน นอกจากนี้ยังมีน้ำพริกเผาบรรจุซองขนาด 500 กรัม ซึ่งระบุวันที่ผลิตค่อนข้างสับสน โดยระบุวันผลิตเป็นวันที่ 10 ธ.ค. 51 แล้วนำมาแจกในวันที่ 11 ธ.ค. 51 ทำไมน้ำพริกเผาดังกล่าวจึงเดินทางจากโรงงานมาถึงชาวบ้านเร็วนัก ทั้งที่มีโรงงานผลิตอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ จึงไม่กล้ากินน้ำพริกเผา นอกจากนี้ยังรวมทั้งไม่มีใครกล้าใช้ยาสีฟันยี่ห้อ “เฮอร์คริค” ที่ใส่มาในถุงยังชีพ โดยชาวบ้านบอกว่ายาสีฟันยี่ห้อนี้ไม่เคยได้ยินชื่อ จึงไม่กล้าใช้ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าชาวบ้านปฏิเสธรับถุงยังชีพทุกชนิดนั้น เนื่องจากภาวะน้ำท่วมได้ลดลงไปนานแล้ว และช่วงนี้ก็ไม่มีใครกล้านำถุงยังชีพเข้ามาแจก หลังจากมีข่าวปลากระป๋องเน่า.
-----------------------------------------
ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ อย่าลืมลูกจ้างรัฐ :ทั้ง"ชั่วคราว"และ"ลูกจ้างทำของ
"โดย สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มีคำถามง่ายๆ ในเชิงสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิคนทำงาน... ทำไมค่าตอบแทน และสวัสดิการของลูกจ้างภาครัฐ : กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างทำของ จึงด้อยกว่าอย่างชัดเจนกับข้าราชการ แม้กระทั่งลูกจ้างประจำของรัฐ ...ที่น่าสะเทือนใจก็คือ ลูกจ้างภาครัฐทั้งสองกลุ่มนี้ ได้รับค่าตอบแทน และสภาพการจ้างที่ด้อยกว่าแรงงานภาคเอกชนอีก เพราะอย่างน้อยก็มีสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงานทุกฉบับที่มีอยู่คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน แต่กฎหมายราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรูปแบบต่างๆ ของรัฐ กำหนดชัดเจนว่า ไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายแรงงานต่างๆ ขณะที่กฎหมายด้านแรงงานทุกฉบับก็จะเขียนทำนองเดียวกันว่า ไม่รวมการคุ้มครองคนทำงานภาครัฐด้วยพวกเขาและเธอจำนวนมากมายหลายแสนคน เป็นกลุ่มตกหล่นจากสิทธิประโยชน์ขั้นมาตรฐานของกฎหมายประเทศไทยได้อย่างไร??สิทธิคนทำงานขั้นพื้นฐานคือ คุณค่าลักษณะงานที่เป็นอย่างเดียวกัน ค่าตอบแทนหรือสภาพการจ้างควรต้องมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคนทำงานภาครัฐ หรือเอกชน ไม่ว่าอยู่ในโรงงาน หรือจ้างเหมาช่วง เว้นแต่ความต่างกันเรื่องอาวุโสในการทำงาน และความเชี่ยวชาญพิเศษ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างทำของในภาครัฐจำนวนมาก ที่มีปัญหาค่าตอบแทนต่ำ ไม่มีสวัสดิการ และไม่มีความมั่นคงในการทำงาน มีอยู่ทุกหน่วยงานของรัฐ แม้ช่วงแรกๆ จะกลัวและขอปกปิดชื่อ เพราะอาจถูกเลิกจ้างได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือไม่ต่อสัญญาให้ แต่ต่อมามีการรวมกลุ่มผลักดันให้รัฐยอมรับที่จะแก้ไขมากยิ่งขึ้น กสม.ตระหนักถึงปัญหาเชิงโครงสร้างนี้มีการหารือ และพยายามแก้ไขปัญหา สัญญาจ้าง และค่าตอบแทนลูกจ้างในสำนักงานของ กสม.เองด้วย แต่ยังไม่อาจแก้ไขได้ เพราะกฎหมายให้สำนักงานเป็นส่วนราชการ แม้ กสม.เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่ออัตราข้าราชการจำกัด จะจ้างลูกจ้างประจำก็ไม่ได้ เพราะต้องเคยมีอัตราลูกจ้างประจำมาก่อน จึงมีทางเลือกด้วยความเจ็บปวดร่วมกันในฐานะองค์กรคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อมีความจำเป็นต้องจ้างบุคลากร ก็จะต้องจ้าง "ลูกจ้างชั่วคราวรายปี" และ "ลูกจ้างทำของ" เช่นเดียวกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจัดสัมมนาปัญหานี้หลายครั้งร่วมกับองค์กรของลูกจ้างภาครัฐ องค์กรแรงงานทั้งภาคเอกชนและผู้บริหารหน่วยงานของรัฐระดับสูง เกือบทุกกระทรวง รวมทั้งกองทุนประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง เห็นพ้องต้องกันว่า มีปัญหาความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อลูกจ้างชั่วคราว "แบบถาวร" และลูกจ้างตามสัญญาจ้างทำของ ที่มิใช่การจ้างเหมา แต่ต้องทำงานภายใต้เวลาและการบังคับบัญชาเต็มรูปแบบ โดยรัฐปฏิเสธความเป็นนายจ้าง ..แต่ทุกหน่วยงานยอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขได้การปฏิรูประบบราชการและปรับลดกำลังคน ไม่บรรจุแทนตำแหน่งที่เกษียณอายุ ทำให้อัตราข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีจำนวนจำกัดกว่าเดิม ทั้งที่ปริมาณงานยังเพิ่มขึ้น และยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะรองรับงานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานของรัฐจึงใช้วิธีการจ้างงานที่ไม่ผูกพันว่าจะต้องเป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ด้วยรูปแบบลูกจ้างชั่วคราว รายปี รายเดือน กระทั่งรายวัน สัญญาจ้างทำของ และแบบจ้างเหมาบริการ มีทั้งจ้างผ่านบริษัทเอกชน และจ้างรายบุคคล ใช้ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ลูกจ้างชั่วคราว ถูกกำหนดให้มีสัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปีงบประมาณ ค่าจ้างไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของข้าราชการในตำแหน่งนั้นๆ โดยทั่วไปไม่มีการเพิ่มขั้นค่าจ้าง นอกจากนี้ไม่มีค่าชดเชยใดๆ ถ้าเลิกจ้าง แม้บางกลุ่มมีประกันสังคมบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย ลูกจ้างทำของ เป็นตัวอย่างของสัญญางานที่ละเมิดสิทธิลูกจ้างภาครัฐอย่างยิ่ง ลูกจ้างทั้งสองประเภทนี้ บางกลุ่มเคยเป็นลูกจ้างเอกชน จำต้องยอมประกันตนตามมาตรา 39 โดยจ่ายเองสองเท่า แต่จำนวนมากไม่สามารถเข้าประกันสังคมได้เลย และทั้งหมดไม่สามารถเข้าร่วมกองทุนเงินทดแทนเพราะไม่มีนายจ้างจ่ายให้ แม้ กสม.ยินดีจะจ่ายสมทบให้ในฐานะนายจ้าง แต่กระทรวงการคลังบอกว่าทำไม่ได้ เดือนธันวาคม 2551 มีคำร้องเรียนขอให้ กสม.เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่ากฎหมายราชการและหน่วยงานของรัฐหลายฉบับ ลิดรอนสิทธิลูกจ้างภาครัฐชั่วคราวและลูกจ้างทำของ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กสม.กำลังศึกษาและเตรียมการกรณีนี้โดยเร่งด่วน ในภาวะมีรัฐบาลชุดใหม่ และกำลังมีวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงทั้งไทยและทั่วโลก กสม.จึงเข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2552 ประสานการจัดสัมมนาคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เรื่อง "ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจคนทำงาน" ในวันที่ 30 มกราคม 2552 เพื่อผลักดันนโยบายรัฐบาล ให้สามารถแก้ไขครอบคลุมคนทำงานทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและยั่งยืน ทั้งแรงงานภาคเอกชน ลูกจ้างภาครัฐ และแรงงานนอกระบบ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้แทนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข มาร่วมรับฟังข้อเสนอแนะจากคนทำงานทั้งสามกลุ่มหลัก ร่วมกับนักวิชาการ ผู้แทนภาคธุรกิจ และจากคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ข้อเสนอแนะมีมากมาย แต่ประเด็นสำคัญร่วมกันคือ รัฐต้องมีนโยบายและมาตรการเร่งด่วนให้คนทำงานทั้งระบบทั้งสามกลุ่มหลัก เข้าสู่มาตรฐานขั้นพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิคนทำงาน อันจะช่วยให้การฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ผลทั้งเฉพาะหน้า และยั่งยืน เช่น ยอมรับว่ารัฐเป็นนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนแก่ลูกจ้างภาครัฐ หรือกรณีผู้ว่างงานที่เดิมต้องจ่ายประกันสังคมสองเท่า ให้รัฐช่วยจ่ายครึ่งหนึ่ง...ที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือ รัฐ และรัฐสภาต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทำงาน รวมทั้งแรงงานนอกระบบ เฉพาะลูกจ้างภาครัฐก็คือ เร่งแก้ไขระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายรัฐวิสาหกิจต่างๆ และกฎหมายของหน่วยงานรัฐทุกฉบับ ประกอบกับกฎหมายแรงงานทุกฉบับ โดยต้องตัดข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานทุกฉบับ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
มีคำถามง่ายๆ ในเชิงสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิคนทำงาน... ทำไมค่าตอบแทน และสวัสดิการของลูกจ้างภาครัฐ : กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างทำของ จึงด้อยกว่าอย่างชัดเจนกับข้าราชการ แม้กระทั่งลูกจ้างประจำของรัฐ ...ที่น่าสะเทือนใจก็คือ ลูกจ้างภาครัฐทั้งสองกลุ่มนี้ ได้รับค่าตอบแทน และสภาพการจ้างที่ด้อยกว่าแรงงานภาคเอกชนอีก เพราะอย่างน้อยก็มีสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงานทุกฉบับที่มีอยู่คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน แต่กฎหมายราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรูปแบบต่างๆ ของรัฐ กำหนดชัดเจนว่า ไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายแรงงานต่างๆ ขณะที่กฎหมายด้านแรงงานทุกฉบับก็จะเขียนทำนองเดียวกันว่า ไม่รวมการคุ้มครองคนทำงานภาครัฐด้วยพวกเขาและเธอจำนวนมากมายหลายแสนคน เป็นกลุ่มตกหล่นจากสิทธิประโยชน์ขั้นมาตรฐานของกฎหมายประเทศไทยได้อย่างไร??สิทธิคนทำงานขั้นพื้นฐานคือ คุณค่าลักษณะงานที่เป็นอย่างเดียวกัน ค่าตอบแทนหรือสภาพการจ้างควรต้องมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคนทำงานภาครัฐ หรือเอกชน ไม่ว่าอยู่ในโรงงาน หรือจ้างเหมาช่วง เว้นแต่ความต่างกันเรื่องอาวุโสในการทำงาน และความเชี่ยวชาญพิเศษ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างทำของในภาครัฐจำนวนมาก ที่มีปัญหาค่าตอบแทนต่ำ ไม่มีสวัสดิการ และไม่มีความมั่นคงในการทำงาน มีอยู่ทุกหน่วยงานของรัฐ แม้ช่วงแรกๆ จะกลัวและขอปกปิดชื่อ เพราะอาจถูกเลิกจ้างได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือไม่ต่อสัญญาให้ แต่ต่อมามีการรวมกลุ่มผลักดันให้รัฐยอมรับที่จะแก้ไขมากยิ่งขึ้น กสม.ตระหนักถึงปัญหาเชิงโครงสร้างนี้มีการหารือ และพยายามแก้ไขปัญหา สัญญาจ้าง และค่าตอบแทนลูกจ้างในสำนักงานของ กสม.เองด้วย แต่ยังไม่อาจแก้ไขได้ เพราะกฎหมายให้สำนักงานเป็นส่วนราชการ แม้ กสม.เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่ออัตราข้าราชการจำกัด จะจ้างลูกจ้างประจำก็ไม่ได้ เพราะต้องเคยมีอัตราลูกจ้างประจำมาก่อน จึงมีทางเลือกด้วยความเจ็บปวดร่วมกันในฐานะองค์กรคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อมีความจำเป็นต้องจ้างบุคลากร ก็จะต้องจ้าง "ลูกจ้างชั่วคราวรายปี" และ "ลูกจ้างทำของ" เช่นเดียวกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานจัดสัมมนาปัญหานี้หลายครั้งร่วมกับองค์กรของลูกจ้างภาครัฐ องค์กรแรงงานทั้งภาคเอกชนและผู้บริหารหน่วยงานของรัฐระดับสูง เกือบทุกกระทรวง รวมทั้งกองทุนประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง เห็นพ้องต้องกันว่า มีปัญหาความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อลูกจ้างชั่วคราว "แบบถาวร" และลูกจ้างตามสัญญาจ้างทำของ ที่มิใช่การจ้างเหมา แต่ต้องทำงานภายใต้เวลาและการบังคับบัญชาเต็มรูปแบบ โดยรัฐปฏิเสธความเป็นนายจ้าง ..แต่ทุกหน่วยงานยอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขได้การปฏิรูประบบราชการและปรับลดกำลังคน ไม่บรรจุแทนตำแหน่งที่เกษียณอายุ ทำให้อัตราข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีจำนวนจำกัดกว่าเดิม ทั้งที่ปริมาณงานยังเพิ่มขึ้น และยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะรองรับงานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานของรัฐจึงใช้วิธีการจ้างงานที่ไม่ผูกพันว่าจะต้องเป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ด้วยรูปแบบลูกจ้างชั่วคราว รายปี รายเดือน กระทั่งรายวัน สัญญาจ้างทำของ และแบบจ้างเหมาบริการ มีทั้งจ้างผ่านบริษัทเอกชน และจ้างรายบุคคล ใช้ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ลูกจ้างชั่วคราว ถูกกำหนดให้มีสัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปีงบประมาณ ค่าจ้างไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของข้าราชการในตำแหน่งนั้นๆ โดยทั่วไปไม่มีการเพิ่มขั้นค่าจ้าง นอกจากนี้ไม่มีค่าชดเชยใดๆ ถ้าเลิกจ้าง แม้บางกลุ่มมีประกันสังคมบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย ลูกจ้างทำของ เป็นตัวอย่างของสัญญางานที่ละเมิดสิทธิลูกจ้างภาครัฐอย่างยิ่ง ลูกจ้างทั้งสองประเภทนี้ บางกลุ่มเคยเป็นลูกจ้างเอกชน จำต้องยอมประกันตนตามมาตรา 39 โดยจ่ายเองสองเท่า แต่จำนวนมากไม่สามารถเข้าประกันสังคมได้เลย และทั้งหมดไม่สามารถเข้าร่วมกองทุนเงินทดแทนเพราะไม่มีนายจ้างจ่ายให้ แม้ กสม.ยินดีจะจ่ายสมทบให้ในฐานะนายจ้าง แต่กระทรวงการคลังบอกว่าทำไม่ได้ เดือนธันวาคม 2551 มีคำร้องเรียนขอให้ กสม.เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่ากฎหมายราชการและหน่วยงานของรัฐหลายฉบับ ลิดรอนสิทธิลูกจ้างภาครัฐชั่วคราวและลูกจ้างทำของ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กสม.กำลังศึกษาและเตรียมการกรณีนี้โดยเร่งด่วน ในภาวะมีรัฐบาลชุดใหม่ และกำลังมีวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงทั้งไทยและทั่วโลก กสม.จึงเข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2552 ประสานการจัดสัมมนาคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เรื่อง "ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจคนทำงาน" ในวันที่ 30 มกราคม 2552 เพื่อผลักดันนโยบายรัฐบาล ให้สามารถแก้ไขครอบคลุมคนทำงานทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและยั่งยืน ทั้งแรงงานภาคเอกชน ลูกจ้างภาครัฐ และแรงงานนอกระบบ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้แทนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข มาร่วมรับฟังข้อเสนอแนะจากคนทำงานทั้งสามกลุ่มหลัก ร่วมกับนักวิชาการ ผู้แทนภาคธุรกิจ และจากคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ข้อเสนอแนะมีมากมาย แต่ประเด็นสำคัญร่วมกันคือ รัฐต้องมีนโยบายและมาตรการเร่งด่วนให้คนทำงานทั้งระบบทั้งสามกลุ่มหลัก เข้าสู่มาตรฐานขั้นพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิคนทำงาน อันจะช่วยให้การฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ผลทั้งเฉพาะหน้า และยั่งยืน เช่น ยอมรับว่ารัฐเป็นนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนแก่ลูกจ้างภาครัฐ หรือกรณีผู้ว่างงานที่เดิมต้องจ่ายประกันสังคมสองเท่า ให้รัฐช่วยจ่ายครึ่งหนึ่ง...ที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือ รัฐ และรัฐสภาต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทำงาน รวมทั้งแรงงานนอกระบบ เฉพาะลูกจ้างภาครัฐก็คือ เร่งแก้ไขระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายรัฐวิสาหกิจต่างๆ และกฎหมายของหน่วยงานรัฐทุกฉบับ ประกอบกับกฎหมายแรงงานทุกฉบับ โดยต้องตัดข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานทุกฉบับ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
----------------------------
No comments:
Post a Comment