Wednesday, February 10, 2010

ตำนานหนองหานกุมภวาปี

AHONG52

หนองหานนี้มีเรื่องราวมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวอีสาน    เรียกว่า " หนังสือผูก "   เรื่องผาแดงนางไอ่    กล่าวถึง   ความเป็นมา
ของหนองหานที่ลือชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำอันกว้างใหญ่และลึกมาแต่ครั้งโบราณกาล   ทั้งยังเป็นห้วงน้ำอันน่าเกรงขามน่าสะพรึงกลัวยิ่งนักเป็นแหล่ง น้ำที่เคยมีจระเข้ชุกชุมที่สุด   คำสันนิษฐานจากคำว่า   " ชติตานคร "  กับคำว่า  " หนองหาน "   เมืองชติตานครนี้ได้ถูกถล่มลงเป็นห่วงน้ำที่แจ้งไว้
ในนิทาน     ต่อมาจึงเรียกห้วงน้ำนั้นว่า  " ห้วยหาน "   คำเดิมคงจะเรียกว่า  " ระหาร "   ก็อาจจะเป็นได้และหนองหานแห่งนี้จึงกลายเป็นต้นกำเนิด
" ลำน้ำปาว "  ซึ่งจะไหลลงไปถูกกักเก็บไว้ที่เขื่อนลำปาว    จังหวัดกาฬสินธุ์    แล้วไหลลงไปกินพื้นที่หลายจังหวัดลงสู่น้ำมูล    น้ำชี    ต่อไป
        ตามคำบอกกล่าวของคนโบราณที่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า    หนองหานนี้มีส่วนที่ลึกที่สุดนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางของหนองหานคนชอบ
เรียกตอนที่ลึกนี้ว่า   "  อ่างหลวง "  ใกล้บริเวณอ่างหลวงขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อยจะมีเกาะอยู่เกาะหนึ่งมีพื้นที่พอที่จะสร้างวัด
ได้หนึ่งแห่งเรียกเกาะนี้ว่า  " ดอนหลวง "   คำว่า   " หลวง "   หมายความว่า   " ใหญ่ "   เมืองใดหรือจุดใดที่เป็นวัด   หรือมีพระสถูป    โบสถ์    กู่ หรือสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว   จะได้รับการยกเว้นไม่ถล่ม     เช่น    " วัดที่เกาะดอนหลวง "    วัดหัวดอนคง    " หลวงปู่ก่ำ "     " ก ู่"  
ที่อำเภอกู่แก้ว    พระธาตุบ้านดอนแก้ว  ( เกาะแก้ว )   วัดสมอลาย   ( บ้านมอ )    และที่สุดก็คือ   " วัดมหาธาตุเทพจินดาบ้านเดียม "    ซึ่งอยู่ริมฝั่ง
หนองหานบริเวณเหล่านี้ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเลยไม่ถูกทำลาย      เพราะสถานที่ที่เป็นวัดคงไม่ได้กินเนื้อกระรอกเพราะพระจำศีลอยู่วัดเมืองแม่
หม้าย ( ดอนแก้ว )  สถานที่สองแห่งนี้จึงได้รับการยกเว้นจากพญานาค    แสดงให้เห็นว่า    สุทโธนาคนี้ก็มีความเป็นธรรมมากทีเดียว

No comments: