Wednesday, February 10, 2010

ตำนานพระอุรังคธาตุ

ในสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรมานอยู่สำราญในพระเชตวันอารามยามใกล้รุ่งเจ้าอานนท์อุปัฏฐากด้วยน้ำและไม้สีฟันเมื่อพระพุทธเจ้าเมิ้ยนกิจชำระแล้วหลิง
          เห็นโบราณประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ที่เสด็จเข้าสู่พระนิพพานไปแล้วทรงไว้ธาตุในดอยกปณคิรีอันมีในที่จิ่มใกล้เมืองศรีโคตบุรีพระองค์จึงทรงผ้ากัมพละผืนแดงงามมีวรรณเหมือนแสงสุริยะเมื่อแรกขึ้น อันเป็นผ้าที่พระนางโคตมีได้ถวายให้เป็นทานแล้วแลทรงบาตรบ่ายหน้าสู่ทิศตะวันออก เจ้าอานนท์ตามพุทธลีลามาทางอากาศ

เสด็จประทับหนองคันแทเสื้อน้ำ ( เวียงจันทน์ )
เสด็จลงที่ดอนก่อนเนานั้นก่อน แล้วจึงมาสถิตอยู่แคมหนองคันแทเสื้อน้ำพระองค์ทอดพระเนตรแลเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้น ที่โพนจิกเวียงงัวใต้ปากห้วยกู่คำพระองค์จึงทำสิตุการแย้มัว ยามนั้นเจ้าอานนท์จึงไหว้ว่า พระองค์แย้มหัวด้วยเหตุสิ่งใดจา พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ทำนายบ้านเมืองให้เจ้าอานนท์ฟังฮู้แจ้งอนาคตตังสญาณว่าบ้านเมืองอนจักเกิดมีภายหน้าตักเสื่อม และเจริญกับทั้งท้าวพระยาประชาราษฏรมีประการต่าง ๆ ตามนิมิตแห่งแลนคำแลบลิ้นนั้นแล (พระพุทธทำนายตอนนี้เป็นตำราภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ของวงศักษัตริย์ล้านช้างยืดยาว จงดูความพิสดารในอุรังคธาตุ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2483 และฉบับในใบลาน
  DSC00851

มูลเหตุพระธาตุบังพนพระพุทธบาทโพนฉัน (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย)
       ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากหนองคันแทเสื้อน้ำ ไปประทับอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว พระยาปัพภารนาคนิรมิตเป็นตาผ้าขาวออกมารับเอาบาตรและอาราธนาพระพุทธองค์ไปสู่ภูเขาลวง ให้สถิตในร่มไม้ป่าแป้งต้นหนึ่ง ปัพภารนาคถวายภัตตาหารแก่พระองค์ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว จึงประทานผ้ากัมพละผืนหนึ่งแก่พญานาคนั้นแล้ว เสด็จไปฉันเพลที่ใกล้เวินหลอด คนทั้งหลายจึงเรียกสภานที่นั้นว่า “เวินเพล” มาเท่ากาลบัดนี้ (กลายมาเป็นโพนแพง)
       ในครั้งนั้น ยังมีพญานาคชื่อว่า “สุขหัตถีนาค” เนรมิตเป็นช้างพลายถือดอกไม้เขามาขอเอารอยพระบาทไว้ ระพุทธงค์จึงย่ำรอยพระบาทไว้ที่แผ่นหินใกล้ริมแม่น้ำชั่วเสียงช้างร้องได้ยิน ช้างตัวนั้นก็เข้าไปอุปัฏฐากด้วยยกงวงขึ้นใส่หัวแล้วก็หลีกหนีไป
มูลเหตุพระพุทธบาทเวินปลา (อำเภอเมืองนครพนม)
        แต่นั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเมืองศรีโคตบอง ถึงที่อยู่ของพญาปลาตัวหนึ่งพญาปลาตัวนั้นเห็นพระรัศมีของพระพุทธเจ้าจึงพาบริวารล่องลอยตามไป พระพุทธองค์เห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ เจ้าอานนท์ทูลถามเหตุแห่งการณ์แย้มนั้นแล้วพระองค์จึงได้ตรัสว่า ตถาคตเห็นพญาปลาตัวหนึ่งพาบริวารตามมาถึงฝั่งน้ำทีนี้ปลาตัวนี้แต่ก่อนเป็นมนุษย์ ได้บวชในศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ได้มาถึงแม่น้ำที่นี้ภิกษุนั้นได้เด็ดใบไม้กรองน้ำฉัน บ่ได้แสดงอาบัติ ครั้นใกล้จุติได้มีความกินแหนงถึงกรรมที่ได้ทำนั้น จึงได้มาเกิดเป็นปลาอยู่ในที่นี้เพื่อเสวยวิบากอันนั้น เมื่อมันได้เห็นรัศมีและได้ยินเสียงฆ้อง กลอง แส่ง จึงได้ออกมาจากที่อยู่เป็นอาจิณ ด้วยเหตุมันเคยได้เห็นรูปารมณ์ สัททารมณ์อันดีมาแต่กาลก่อน จึงได้รู้
           สัพพสัญญานั้นๆ พญาปลาตัวนี้จักมีอายุยืน ตลอดถึงพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงจักได้จุติจากชาติอันเป็นปลามาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว จักได้ออกบวชเป็นภิกษุในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล เมื่อพญาปลาตัวนั้นได้ยินพระพุทธพยากรณ์อันนี้ก็ชื่นชมยินดีมากนัก จึงคิดอยากจะได้รอยพระพุทธบาทไว้ที่โหง่นหินในน้ำที่นั้นคนทั้งหลายจึงเรียกสถานที่นั้นว่า “พระบาทเวินปลา” มาเท่ากาลบัดนี้แล
เสด็จดอยกปณคิรี (ภูกำพร้า ธาตุพนม)


  38_20081122122410_

ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จมาทางอากาศ ประทับที่ดอยกปณคิรี คือ ภูกำพร้าในราตรีนั้นวิสสุกรรมเทวบุตรลงมาอุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดรุ่ง กาลนั้นพระองค์ทรงผ้าแล้วเอาบาตรห้อยไว้ที่หง่าหมากทัน ไม้ป่าแป้ง ต้นหนึ่ง เบื้องทิศตะวันตกแล้วเสด็จลงไปสู่ริมแม่น้ำที่นั้นเพื่อชำระพระบาท บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระยาอินทร์ก็กระด้างแก่นแข็ง พระยาอินทร์เห็นเหตุด้งนั้น ก็เสด็จลงไปสู่ป่าหิมพานต์ นำเอาน้ำแต่สระอโนดาตและไม้สีฟันมาถวาย พระพุทธองค์ทรงชำระพระบาทแล้วก็ทรงบาตร ผินพระพักไปสู่ทิศตะวันออก เสด็จไปประทับอิงต้นฮังต้นหนึ่ง อยู่ใต้ปากเซทรงทอดพระเนตรเมืองศรีโคตบองเพื่อจเข้าไปบิณฑบาตรในเมืองนั้น
           ครั้งนั้นพระยาเจ้าเมืองศรีโคตบองนั้นเป็นผู้ได้ทรงบำเพ็ญบุญสมภารกตาธิการมาแต่หนหลังเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงได้เสวยราชสมบัติในบ้านเมืองในชมพูทวีปเป็นครั้งที่ 3 เพื่อจัดได้โชตนาพระพุทธศาสนา จึงได้เชื่อว่าพระยาศรีโคตบูร พระยาเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนาให้พระองค์ไปรับบิณฑบาตในพระราชฐาน
           เมือพระองค์ทรงรับข้าวบิณฑบาตรแล้ว ก็ส่งบาตรให้พระยาโคตบูร แล้วก็เสด็จมาประทับต้นรังดังเดิม ส่วนพระยาเมื่อรับเอาบาตรจากพระพุทธองค์แล้วก็ยกขึ้นเหนือพระเศียรทำความปรารถารแล้วจึงนำบาตรไปถวายพระองค์ที่ประทับอยุ่พระพุทธองค์ทรงรับเอาบาตรแล้วก็เสด็จกลับมาทางอากาศประทับที่ภูกำพร้าดังเก่า พระยาศรีโคตบูรเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางอากาศดังนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นประนมทอดพระเนตรพระศาสดาจนสุดชั่วพระเนตรจึงคำนึงในพระทัยว่าอยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับคืนสู่พระราชนิเวศน์



PrayaSrikotra

ทรงปรารภภูกำพร้าและเมืองศรีโคตบูร
          ครั้งนั้น เมื่อพระศาสดาทรงทราบเหตุพระยาศรีโคตบูรดังนั้น จึงตรัสกับพระยาอินทร์ว่า ดูราอินทาธิราช ตถาคตมาสถิตที่นี้ราตรีหนึ่งด้วยเหตุอันใดจา พระยาอินทร์จึงทูลตอบว่า พระองค์เสด็จมาที่ภูกำพร้าราตรีหนึ่งนั้น ก็เพราะทรงอาศัยอดีตเหตุพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ มีพระกกุสนธเป็นเค้า มีพระพุทธกัสสปเป็นปริโยสาน ซึ่งเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไปแล้วนั้น พระอัรหันต์ทั้งหลายเทียรย่อมนำเอาประบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นมาประดิษฐานไว้ในภูกำพร้าที่นี้เพื่อเป็นที่ไหว้สักการบูชาของท้างพระยาเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในภายภาคหน้าอันนี้เป็นพระเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสืบ ๆ กันมาบ่ขาด
          เฉพาะที่พระพุทธองค์ทรงฉันบิณฑบาตของพระยาศรีโคตบูรนั้น คนทั้งหลายเรียกเมืองศรีโคตบอง พระยาอินทร์จึงกราบทูลว่า ผู้ข้าทั้งหลาย อินทร์ พรหม เทวบุตร เทวดาเรียกเมืองศรีโตโม เพราะเหตุพระองค์ทรงพระนามว่า “โคตม” หากให้ศรีสวัสดีแก่พระยาศรีโคตบูร ผู้ข้าทั้งหลายเรียกดังนี้ เมื่อพระยาอินทร์ทูลชอบแก่พระพุทธวิสัยดังนั้น พระองค์ก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่หั้นแล
         ในขณะนั้น เทวดามเหศักดิ์ทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ในราวป่าที่นั้น เมื่อได้ยินดังนั้นก็ส่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน ภายบนถึงชั้นอกนิษฐพรหม ภายล่างถึงขอบจักรวาลเป็นที่สุด พระยาอินทร์กราบทูลดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับคืนไปสู่ที่อยู่ของตน
ทรงพยากรณ์พระยาศรีโคตบูร
          ในกาลนั้น พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ให้แจ้งแก่เจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์พระยาศรีโคตบูรองค์นี้จักจุติไปเกิดในเมืองสาเกตนคร อันอยู่ทิศตะวันตกเมองศรีโคตบูรจักมีนามว่า “สุริยกุมาร” เมืองศรีโคตบูรนี้ จักย้ายไปตังที่ป่าไม้รวกมีมีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว สุริยกุมารจักได้เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาทั้งหลายและจักได้ก่อแฮกพระพุทธศาสนาไว้ในเมืองร้อยเอ็ดประตู เมืองสาเกตนครนั้นจักเสื่อมสูญไป ตั้งแรกแต่นั้นไปพระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรือง เสมอกับเมื่อพระตถาคตยังมีชีวิตอยู่นั้นชะแล ครั้นสุริยกุมารจุติไปจัดได้มาเอดเป็นพนาสุมิตตธรรมวงศา – มรุกขนครจักได้อภิเษกพ่อนา เป็นพระยาจันบุรีหนองคันแทเสื้อน้ำ และแฮกตั้งพระพุทธศาสนาในที่นั้น
        ดูราอานนท์ พระยาสุมิตตธรรมองค์นี้จักได้ฐปนาอุรังคธาตุของตถาคตไว้ในภูกำพร้าที่นี้ แล้วจักได้กลับไปโชตนาพระพุทธศาสนาอันแตกม้างในเมืองสาเกตร้อยเอ็ดประตูจนตลอดอายุของตนหั้นแล
ทรงพยากรณ์เมืองมรุกขนคร
      ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น จักย้ายไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่ของพญาปลาตัวนั้น (คือใกล้รอยพระบาทเวินปลา) แต่เมืองนั้นมออาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน จักเป็นเมืองน้อยขึ้นแก่เมืองใหญ่ ที่พระยาผู้มีบุญสมภารเสวยราชสมบัติ ครอบครองนั้นแล เหตุว่าตถาคตอธิฐานรอยบาตไว้ที่ก้อนหินให้แก่พญาปลาตัวนั้นเพื่อเป็นที่สักการบูาชา
      ครั้นพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้ว จึงผินพระพักตร์เมืองจุฬณีพรหมทัตและเมืองอินทปัฐนคร ขณะนั้นพระอานนท์มีสงสัยว่า พระองค์จักเสด็จเมืองทั้งสองนั้นหรือ ๆ ว่าบาเสด็จไปหนอ จึงกราลทูลว่า เมื่อพระองค์เสด็จจากภูกำพร้าที่นี้แล้วจะเสด็จไปที่ใดจา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า จากที่นี้แล้ว เราตถาคตจักไปชุมรอยบาที่หนองหารหลวงนั้นก่อน แล้วในเมืองหนองหารหลวงนั้นมีพระยาองค์หนึ่งนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น
เสด็จถึงแม่น้ำพุง (เขต อ.เมืองสกลนคร)
        ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปตามมรรคาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง อันอยู่ระหว่างทางยังมีนาคตัวหนึ่งชื่อว่า “โธทนนาค” เคยเป็นเชื้อวงศ์พระยาศรีสุทโธทนมาแต่ชาติเมื่อเป็นมนุษย์ เมื่อเวลาจะตายมีจิตโกรธกล้า จึงได้มาเกิดเป็นนาคเลาะเรียบหากินปลาตามริมแม่น้ำ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุอันนี้ จึงตรัสว่า ดูราโธทนนาคเอยท่านอย่าได้ถือหาบอันหนักซ้ำเติมหาบอันเก่าให้หนักขึ้นเทอญ
         เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้น จึงฮำเพิงในใจว่า บุคคลผู้ใดมาฮู้จักเชื้อชาติแห่งกูและตักเตือนกูสันนี้หนอ กูควรเข้าไปดูให้ฮู้ คำนึงดังนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้พระพุทธองค์พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูรานาคเอย ท่านมาหาเราเพื่อจะปลงหาบอันหนักหรือ เราจะปลดเสียยังทุกข์ให้ท่านได้ถึงสุข เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้นแล้ว ก็มีจิตใจเบิกบานชื่นชมยินดียิ่งนัก จึ้งเข้าไปกราบแทบบาทมูลของพระศาสดา แล้วก็ได้ตังอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ครั้นจุติจากชาติอันเป็นนาคก็ได้ไปบังเกินในชั้นดาวดึงส์นามปรากฏว่า โธทนนาคเทวบุตร ตามวงศาแห่งตน แม่น้ำที่นาคอาศัยอยู่แต่ก่อนนั้นคนทั้งหายเรียกน้ำนำพุงมาเท่ากาลบัดนี้แล
เสด็จประทับหนองหารหลวงประทานรอยพระบาท
         เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่เมืองหนองหารหลวง พระยาสุวรรณภิงคาร เห็นพระศาสดามาดังนั้น จึงทูลอาราธนานิมนต์เข้ไปฉันที่หอปราสาท เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจสำเร็จแล้ว ก็เทศนาสั่งสอนพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วจึงเสด็จลงจากปราสาทไว้รอยพระบาทในที่นั้นต่อหน้าพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วทรงทำปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกจากพระบาททั้ง 2 พระบาทละลูกโดยลำดับ ซ้ำทรงทำปาฏิหาริย์ให้ออกมาอีกลูกหนึ่ง เมื่อพระยาสุวรรณภิงคารทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็บังเกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักว่า เหตุใดหนอ แก้วจึงออกมาจากพระบาทพระศาสดาได้นี้จา
        ในขณะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูรามหาราช สถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ แก้วจึงออกมาจากที่นี้ 3 ลูก คือ รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสนธ โกนาคมน และกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นี้ได้เสด็จไปรับบิณฑบาตในเมืองศรีโคตบูร แล้วมาฉันที่ภูกำพร้าจึงเสด็จมาประดิษฐานรอยพระบาทไว้ด้วยเหตุอันใด
        พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเป็นเมืองตั้งพระพุทธศาสนาอยู่นั้น แม้มีเหตุควรไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไปไว้ด้วยเหตุเป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดาและพญานาคทั้งหลาย และบ้านเมืองก็จักเสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมไว้ยังรอยพระบาทไกลบ้านเมือง พระพุทธสาสนาก็จักตั้งอยู่ก้ำท้ายเมืองและหัวเมืองเมื่อพระพุทธเจ้า ได้ไว้จิตแก้ว กล่าวคือรอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้นพระพุทธศาสนาจักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน แล้วจึงย้ายห่างมาใต้ตามรอยพระบาท เมื่อไว้จิตแก้วก้ำหัวเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตังในเมืองนั้นแล้วจึงย้ายห่างไปทางเหนือที่รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้นี้ก็ไป่ตั้งเมืองคนทั้งหลายจึงจักตั้งอยู่เป็นปกติ
         ส่วนเมืองหนองหารหลวงนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้มาสุมรอยพระบาทไว้สมัยพระยาองค์ใดเสวยราชสมบัติ พระยาองค์นั้นเสวยราชสมบัตินั้น พระยาองค์นั้นได้สร้างบุญสมภารมาแล้วตังแสนกัลป์ทุก ๆ พระองค์ ถึงเมืองหนองหารน้อยก็ดุจเดียวกัน และทั้งสองเมืองนี้เมื่อตั้งก็เกิดพร้อมกัน ด้วยเหตุที่เสด็จมาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นชั่วพระยาทั้งสองเมืองนี้เทวดาและนาคทั้งหลายที่รักษาหนองหารหลวงและหนองหารน้อย ก็จักได้ให้น้ำไหลนองเข้ามาหากัน ท่วมรอยพระบาทและบ้านเมือง คนทั้งหลายจึงได้แยกย้ายกันไปตังในราชธานีใหญ่ ที่พระพุทธะศาสนาตั้งรุ่งเรืองอยู่นั้น
        เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้วพระอรหันต์ทั้งหลายจักได้นำเอาพระธาตุพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ริมแม่น้ำธนนที ราชธานีบ้านเมืองพระพุทธศาสนาจักรุ่งเรื่องไปตามริมแม่น้ำอันนั้นเมืองฝ่ายเหนือกลับไปตั้งอยู่ฝ่ายใต้ ฝ่ายใต้กลับไปตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ เมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้นประเสริฐมีอานุภาพยิ่งนัก ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารจักได้เสวยราชสมบัติ บ้านเมือง อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นพระพุทธศาสนาแล้ว ราชธานีบ้านเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำฝ่ายเหนือ กลับไปฝ่ายเหนือก็เมืองราชธานีที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียวบิณฑบาต เป็นต้นว่า เมืองศรีโคตบองก็กลับมาตั้งอยู่ที่เก่าเมืองราชธานีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้น ก็กลับมาตั้งอยู่ริมหนองหารดังเก่า เพื่อรอท่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
        ครั้งนั้น ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารก็บังเกิดขึ้นตามราชธานีนั้น ๆ อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีสืบ ๆ มาแห่งแม่น้ำธนนที พระพุทธศาสนาก็จักตังอยู่แต่ทิศเบื้องเหนือและทิศเบื้องใต้และทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ไปตามริมแม่น้ำอยู่เป็นปกติ
         ดูรามหาราช ตถาคตเทศนาศาสนาแลนครนิทาน ดังกล่าวมาแล้ว เหตุนั้นจึงได้ว่าไป่มีคนอยู่ในหนองหาร ถึงแม้ว่ามีคนอยู่ในรมหนองหารทั้งสองนั้น ท้าวพระยาที่มีบุญสมภารเป็นเอกราชนั้นจักตั้งอาณานิคมในพระพุทธศาสนาอันใหญ่นั้นก็ไป่มีเท่ามีก็เป็นแต่ปัจจันตพระพุทธศาสนาตามกาลสมัยนั้นแลเมื่อพระยาสุวรรณภิงคารได้ทรงสดับรัตนปัญหาดังนั้นก็ทรงโสมนัสซาบซึ้งในพระขันธสันดานยิ่งนักและมีพระทัยปรารถนาจะตัดพระเศียรบูชารอยพระพุทธบาททันใดนั้นพระนางเทวีได้ทูลห้ามไว้าว่า เมื่อมหาราชยังมีพระชนม์อยู่จักได้สร้างพระราชกุศลเพิ่มเติมต่อไปไป่ควรที่พระองค์จะมาทำเช่นนี้เมื่อพระยาได้ทรงสดับถ้อยคำพระนางเทวีห้ามดังนั้นจึงถอดมงกุฏออกบูชาพระศาสดาซ้ำตรัสเทศนาโปรดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้พระยามีศรัทธาอาจหาญในธรรม (ดูความพิสดารในคัมภีร์อุรังคธาตุ)
สร้างพระธาตุเชิงชุม
พระยาสุวรรณภิงคารพร้อมด้วยพระราชเทวี ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาพระบาทลักษณ์และอปริหานิยธรรม อันพระศาสดาตรัสเทศนาดังนั้น ก็ทรงบีติปราโมทย์ยิ่งนัก แล้วทรงสร้างอุโมงค์ด้วยหิน ปิดรอยพระบาทพร้อมทั้งมุงกุฏเหตุนั้นจึงพากันเรียก “พระธาตุเชิงชุม” มาเท่ากาลบัดนี้
ทรงตรัสปรารภบริโภคเจดีย์
พระศาสดาตรัสเทศนาแกพระยาสุวรรณภิงคารว่า ที่ใดตถาคตได้ลงจากอวกาศและสถิตอยู่ได้เห็นเหตุอันใดอันนึ่ง แล้วทำนายนั้นเป็นกงจิตแก้วอันหนึ่งและที่ลมไม้อันตถาคตฉันข้าวนั้น ก็เป็นกงจิตแก้วอันหนึ่ง พงศ์ทั้งสองนี้เรียกว่า “โชติกเจดีย์” พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในที่นั้น ที่ตถาคตได้ไสยาสน์และบิณฑบาตมาฉันที่นั้นเป็นพงศ์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสอมด้วยดอยสิงคุตร (ธาตุย่างกุ้ง) ที่ตถาคตยืนทรงบาตรยืนอิงต้นไม้นั้นเป็นพงศ์อันหนึ่ง และเมื่อว่าตถาคตได้หมายกงจิตแก้วที่ใด ต่อไปภายหน้าโพ้นโชติกเจดีย์บังเกิดขึ้นในที่นั้น ดูรามหาราช เจดีย์ที่ก่อโลมบาทเชิงชุมยัดนี้ ปัจจุบันอัปปเจดีย์ ไป่รุ่งเรืองภายหน้า
เสด็จไปประทับดอยแท่น
ครั้นพระพุทธองค์ ทรงเทศนาแก่พระยาสุวรรณภิงคารดังนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นดอยลูกหนึ่งข้างในเป็นดังคูหา คนทั้งหลายขึ้นไปดอยลูกนั้น มองเห็นหนองหารหลวงและหนองหารน้อยมองเห็นเมืองศรีโคตบูรและภูกำพร้า พระยาสุวรรณภิงคารให้สังวาลย์ทองคำหนัก 300,000 (สามแสน) เป็นทานแก่คนทั้งหลายที่มีกำลังก่อแท่นด้วยหินมุกเป็นปัจจุบันโดยพลัน และพระองค์ก็เสด็จขึ้นพรแท่นระลึกถึงพระมหากัสสปเถร ก็มาเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสแก่ พระมหากัสสปเถรเป็นภาษาบาลีว่า “อุรงฺคธาตุกสฺสป กปรคิริ อปฺปตฺตรา” ดังนี้ แล้วจึงผินพระพักตร์เฉพาะซึ่งภูกำพร้า ตรัสว่า ดูรากัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้วเธอจงนำอำอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้า อย่าได้ละทิ้งคำตถาคตสั่งไว้นี้เสีย พระมหากัสสปเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ชื่นชมยินดียกอัญชุลีขึ้นว่า สาธุ สาธุ ดังนี้ และก็กลับไปสู่ที่ของตน
เสด็จประทับภูกูเวียน
ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็กลับคืนมาสถิตอยู่ภูกูเวียน ทรงเปล่งรัศมี ให้เข้าไปในเมืองนาคู่ปเวียน ขณะนี้สุวรรณนาคได้เห็นพระรัศมี จึงออกมาจากแม่น้ำขึ้นไปสู่ยอดเขาพ่นพิษออกมาเป็นควัน เขาลูกนั้นก็มืดมัวไปทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นดังนั้นก็ทรงเข้าเตโชกสิณเป็นเปลวไฟ ไปเกี่ยวพันสุวรรณนาคกระเด็นไปในน้ำปู่เวียนเปลวไฟก็ผุดแต่พื้นน้ำขึ้นมาไหม้เมืองนาคตลอดไปถึงหนองบัวบาน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพุทโธปาปนาค นาคทั้งหลายมาล้อมถูกูเวียนนั้นไว้
ทรงทรมานพวกนาค
ในขณะนั้น พระศาสดาประทับทำสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้น นาคทั้งหลายจึงกระทำอิทธิฤทธิ์ เป็นเปลวไฟพุ่งขึ้นมาหาพระพุทธองค์ เปลวไฟนั้นก็กลับคืนมาไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นดอกบัวบูชาพระศาสดา นาคทั้งหลายเหล่านั้นจึงแวดล้อมพระพุทธองค์ไว้ เพื่อให้พุทโธปาปนาคทำอิทธิฤทธิ์พังทลายที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงเข้าปฐวีกสิณ ที่ประทับก็บังเกิดแท่นแข็งงดงามยิ่งนัก นาคทั้งหลายกระทำอิทธิฤทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อทำลายพระแท่นและพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายพระพุทธองค์ได้ มันซ้ำกระทำอิทธิฤทธิ์ให้เป็นเปลวไฟเข้าไปทำลายอีก พระศาสดาทรงเข้าวาโยกสิณ เป็นลมพัดกลับไปไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปบนอวกาศ นาคทั้งหลายเห็นดังนั้นก็ทำอิทิฤทธ์โก่งหลังขึ้นไปเป็นหมู่นาคตามล้อมพระศาสดา พระองค์ทรงนิรมิตให้หัวนาคทั้งหลายเหล่านั้นขาดตกลงมา นาคทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็มีความเกรงกลัวอานุภาพของพระศาสดายิ่งนัก
ทรงสั่งสอนหมู่นาค
พระศาสดาทรงรู้แจ้งดังนั้นก็เสด็จกลับลมมาประทับ ณ ที่เก่า นาคทั้งหลายจึงพร้อมกันเข้าหาพระศาสดา พระองค์จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบรรเทาเสียยังพยาธิต่อมผีอันเจ็บป่วดกล่าวคือหัวใจแห่งท่านทั้งหลาย ตถาคตจักรักษาให้หายยังพยาธินั้นนาคทั้งหลายได้ฟังพระพุทธพจน์ดังนั้นก็มีใจชื่นบาน พร้อมกันเข้ามากราบแทบพระบาทพระศาสดาก็ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนหมู่นาคทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ มีเมตตากรุณาแก่มนุษย์ทั้งหลาย มีปริยายต่าง ๆ
เสด็จไปประทับดอยนันทกังฮี
ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปสู่ดอยนันทกังฮี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อนมีนาคตัวหนึ่ง 7 หัว “ศรีสัตตนาค” เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ในดอยนันทกังฮี พระศาสดาก็เสด็จย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์กราบทูลถาม
ทรงทำนายเมืองศรีสัตตนาค
พระศาสดาทรงตรัสว่า เราเห็นนาค 7 หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้านี้จักบังเกิดเป็นเมืองนามว่า “เมืองศรีสัตตนาค” และที่พญานาคได้ให้ความสวัสดีแก่พระยาจันทบุรีนั้นจักรกร้างเสื่อมสูญ
ทรงเหยียบรอบพระบาทไว้ใกล้ดอยนันทกังฮี
พระพุทธองค์ ได้เสด็จลงไปไว้รอยพระบาทที่แผ่นหินอันจมอยู่กลางแม่น้ำเบื้องซ้ายดอยนันทกังฮี ซึ่งคนทั้งหลายไม่สามารถจะมองเห็นได้ แล้วจึงเสสด็จไปบนดอยนันทกังฮีอธิษฐานให้เป็นรอยเกิบบาททับหงอนนาคไว้ ซึ่งพญาศรีสัตตนาคได้สมมุติดอยนันทกังฮีให้เป็นหงอนแห่งตน เพื่อบ่ให้ท้าวพรยาในเมืองนั้นทำยุทธกรรมกัรจักแพ้พระพุทธศาสนาบ้านเมือง
เสด็จกลับพระเชตวัน
ครั้นแล้ว พระศาสดาก็เสด็จจากดอยนันทกังฮีไปสู่พระเชตวันอารามดังเก่า ครันอยู่ต่อมาในกาลวันหนึ่ง หมู่ง้วนก็มาถึงแก่พระองค์จึงตรัสถามพระอานนท์เป็นอุบายว่า ดูราอานนท์ วิหารหลังเก่าเราจะปฏิสังขรณ์อยู่ไปก่อนดีหรือ ๆ ว่าไม่ดี พระอานนท์ทูลว่าสร้างใหม่อยู่ดี แล้วพระองค์จึงตรัสว่า บัดนี้พระองค์จะเข้าสู่นิพพานอานนท์เห็นว่าเมืองใดใหญ่ พระอานนท์ก็กราบทูลว่าเมืองราชคฤห์เป็นเมืองใหญ่ แล้วพระองค์จึงตรัสว่า ตถาคตจักไปนิพพานมนเมืองกุสินารายเพื่อโปรดโสตถิยพราหมณ์ พราหมณ์คนนี้เมื่อครั้งก่อนได้เอาหญ้าคา 8 กำมือมาปูให้ตถาคตนั่งก็บังเกิดเป็นแท่นแก้วเป็นที่ตรัสรู้
ทรงปรารภเมืองกุสินารายในอดีต
ดูราอานนท์ ครั้นก่อนตถาคตได้เป็นพระยาสุทัศนจักรวรรดิราช เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น (กุสินาราย) กงจักรแก้วมรีโชติก็บังเกิดขึ้นในเมืองนั้นเมืองกุสินารายเดี๋ยวนี้เป็นที่นิพพานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในระหว่างต้นไม้รัง
ทรงปรารภพระเจดีย์
ดูราอานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ใครผู้ใดมีความระลึกถึงตถาคตเอาแก่นไม้รังที่ตถาคตบริโภคนั้นมาสร้างเป็นรูปตถาคตไว้ เมื่อบุคคลผู้ใดยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร สามารถที่ปิดเสียซึ่งประตูอบายได้ด้วยเหตุว่าเป็นพุทธบริโภค 2 ชั้น หรือว่าเอาแก่นไม้ป่าแป้งที่ตายแล้วมาสร้างเป็นรูปตถาคตก็ฉันเดียวกัน
เหตุว่าไม้ทั้งสองนี้ตถาคตได้บริโภคเป็นต้นไม้อันประเสริฐ พระศาสดาตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จไปสู่เมืองกุสินารายทรงอาเจียนออกเป็นโลหิต พระอานนท์เห็นดังนั้นจึงไปหานำมาถวายพระพุทธองค์ นำในที่นั้น ๆ ขุ่นเป็นตมไปเสียทุกแห่ง ไป่ได้นำที่ใดมาถวาย ทันใดนั้นพระอานนท์จึงกราบทูลให้ทรงทราบเหตุการณ์วิปริตนั้น พระองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูราอานนท์ เธออย่าได้ไปแสวงหาน้ำนั้นเลย ถึงจะไปหาที่ใด ๆ ก็ดี น้ำที่ใสอยู่ก่อนจักขุนสิ้นไปทุกแห่งนั้นแล

ทรงปรารภบุรพกรรมของพระองค์
ดูราอานนท์เอย เมื่อชาติก่อนตถาคตได้เป็นพ่อค้าเกวียนเกินทางมา วัวเกวียนอยากกินน้ำ นำใสมีอยู่ในที่ไกล ความเกียจคร้านกับความรีบร้อนจะเดินทางไปข้างหน้ามีอยู่เฮาจึงนำวัวไปกินน้ำขุ่นในที่ใกล้ เวรอันนั้นยังเศษเหลือไปสิ้น จึงตามมาสนองแก่เฮาในบัดนี้ เมื่อพระอานนท์ได้ทรายดันนั้น ก็ไปตักเอานำมาถวาย นำก็ใสเป็นปกติดังเก่า เป็นที่นาอัศจรรย์ยิ่งนัก
ทรงปรารภพระธรรมวินัย
ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จลีลาไปจากที่นั่นไปสู่เมืองกุสินารายณ์ ประทับไสยาสน์บันทมระหว่างไม้รัง 2 ต้น แล้วตรัสกับเจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์เอ่ย พระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ตถาคตเทศนาไว้นั้น เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วตถาคตไว้พระพุทธศาสนา 5000 พระวรรษา เพื่อเป็นที่ไหว้นบสักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย พระธรรมวินัยนั้นและจะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนสู่ท่านทั้งหลาย เสมอด้วยตถาคตยังทรมานอยู่ บุคคลผู้มีศรัทธาปัญญาเป็นกุศล ได้ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยที่ตถาคตสั่งสอนไว้นั้น หรือสร้างสถูปเจดีย์วิหารและรูปตถาคตตั้งไว้และกราบไหว้บูชาบำเพ็ญศีลภาวนาไปบ่ขาด แม้ปรารภนาเอาโลกิยะและโลกุตระสมบัติก็เทียรย่อมจักได้สมความมักสมความปรารถนาทุกประการชะแล ประดุจดังว่า ไฟอันดับมอดแล้วผู้มีปัญญาเอาไม้มาสีกันเข้า เพื่อให้เกิดเป็นไฟ (ก็เกิดเป็นไฟขึ้นดังปรารถนานั้นแล)
อีกนัยหนึ่ง เป็นประดุจดังบุคคลเอาแก้วสุริยกันตะมารอบแสงตะวัน เพื่อให้เกิดเป็นไฟติดชนวนแล้วจุดต่อ ๆ กันไปเป็นไฟใหญ่ เพื่อให้สำเร็จในสรรพกิจการนั้น ๆ
อีกนัยหนึ่ง ประดุจดังอ้อยมีโคนอันขาดแล้ว บุคคลปรารถนาในรสอันหอมหวานเอามาชำไว้ในที่ชุ่มให้แตกเป็นหน่อกอลำขึ้น จนมีรสหวานมีใบอันคมฉันใด
แม้ตถาคตนิพพานไปแล้วก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ยังจักตั้งอยู่เป็นปกติตลอด 5,000 พระวรรษา พระพุทธศาสนานี้เปรียบประดุจดังสระน้ำอันตั้งอยู่เหนือแผ่นดินถึงแม้ว่าน้ำจะเหือดแห้งไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูกาลฝนตกลงมีน้ำขึ้นในสระนั้น พรรณอกไม้ทั้งหลายในสระนั้นเป้ฯต้นว่าดอกบัวหลวงแลบุณฑริก ก็จักบังเกิดขึ้นในสระนั้นฉันใด พระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลมีความเพียรกระทำกัมมัฏฐาน ก็จักได้ถึงมรรคผลนั้น โดยลำดับ
ผิว่าไป่ได้ถึงในชาตินี้ เมื่อจุติไปได้บังเกิดเป็นเทวดา ได้สดับธรรมเทศนาจากธรรมกถึกเทวบุตร ก็จักได้ (มรรคผล) ในสำนักนั้นสูท่านทั้งหลายจงกระทำกัมมัฏฐานอย่าได้ขาดเทอญ
ทรงปรารภการบูชาแล้วนิพพาน
ดูราอานนท์เอย บุคคลบุชาตถาคตและศาสนาที่ตถาคตตั้งไว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียนนั้นเชื่อว่า มิได้บูชา ส่วนบุคคลบูชา ได้ชื่อว่าบูชานั้น ตถาคตจะสั่งเธอไว้ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งสอนของตถาคต ถึงแม้ว่าจะไม่มีเครื่องสักการะก็ตาม เป็นแต่เพียงมีจิตเลื่อมใน เชื่อในคุณพระรัตนตรัยไหว้นบแต่มือเปล่า ๆ ก็ได้ชื่อว่าบูชาอันประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ เมื่อพระองค์ตรัสสั่งกับพระอานนท์ดังนี้แล้ว จึงทรงอธิษฐานว่าเมื่อใดกัสสปยังไปมารับเอาอุรังคธาตุ ตถาคตไปไว้ที่ดอยกปณคิรี ไฟธาตุอย่าได้ไหม้ตถาคต ทรงอธิษฐานแล้วก็เสด็จเข้าสู่นิพพาน
กษัตริย์มัลลราชจัดการพระบรมศพ
ครั้งนั้น กษัตริย์มัลลราชทั้งหลาย ได้ทราบซึ่งเหตุว่า พระศาสดาเสด็จเข้าสู่นิพพานก็พร้อมกันมาสักการบูชาโสรจสรงพระบรมศพ (ด้วยน้ำสุคนธรสของหอม) และเชิญพรบรมศพเข้าพระหีบทอง ประดิษฐานไว้บนเชิงตะกอน แล้วทำการถวายพระเพลิงเป็นหลายครั้งหลายหน เพลิงก็ไม่สามารถทำลายพระบรมศพได้ ทันใดนั้นพระมหากัสสปเถระก็มาถึงและเข้าไปทำการสักการะ ขณะนั้นพระศาสดาทรงทำการปฏิหารให้พระบาทเบื้องขวายื่นออกมาจากพระหีบทอง เพื่อให้พระมหากัสสป (ได้) กระทำสักการะ
พระอุรังคธาตุทำปาฏิหารย์
ในขณะนั้นพระอุรังคธาตุที่หุ้มห่อดวยผ้ากัมพลก็ปาฏิหาริย์เสด็จออกจากพระหีบทองมาประดิษฐานอยู่เหนือฝ่ามือเบื้องขวาของพระมหากัสสปเถระอัครสาวกทันใดนั้นไฟธาตุก็บักเกิดลุกเป็นเปลวขึ้น ทำลายสรีระของพระศาสดา
พระธาตุที่เหลือจากไป
ส่วนพระบรมธาตุกระโบงหัวนั้น ฆฏิการพรหมนำเอาไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก พระธาตุแข้วหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) โทณพราหมณ์เอาซ่อนที่มวยผมพระอินทร์นำเอาไปประดิษฐานไว้ในชั้นดาวดึงส์พระธาตุกระดูกด้ามมีดนั้น (พระธาตุรากขวัญ) พญานาคนำเอาไปประดิษฐานไว้ที่เมืองนาค พระบรมธาตุที่ออกนามข้างบนนี้มิได้เป็นอันตรายด้วยเพลิงยังปกติอยู่ตามเดิม ส่วนพระบรมธาตุนอกนั้นย่อยยับไปเป็น 3 ขนาด ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วกวาง (ถั่วแตก) ขนาดที่ 2 เท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดที่ 3 ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระยาอชาติศัตรูนำเอา ไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา (กษัตริย์นครอื่น ๆ ก็ได้รับแบ่งนำไปประดิษฐานไว้ ณ นครของตน ๆ ส่วนอุรังคธาตุนั้น พระมหากัสสปเถรเจ้า จักนำไปประดิษฐานไว้ ณ ดอยกปณคิรี ในแขวงเมืองศรีโคตบุรี ตามคำสั่งพรพุทธเจ้าได้สั่งไว้เมื่อก่อนนั้นแล
ข่าวการเสด็จปรินิพพาน
ครั้งนั้นท้าวพระยาทั้งหลาย มีพระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาคำแดง รู้ข่าวว่าพระมหมกัสสปเถรเจ้าจักนำเอาพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าดังนั้น พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร และพระยานันทเสนทั้ง 3 พระองค์ พร้องด้วยไพร่พลโยธาเสด็จมาประทับพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำธนที ใต้ปากเซที่นั้น จึงตรัสสั่งไพรพลโยธาทั้งหลายองค์ละ 500 คน สกัดหินมุกมาสร้างอารามไว้คอยท่านพระมหากัสสปเถรเจ้า

No comments: